"การขาดแคลนแรงงาน" เร่งให้วิสาหกิจจีนปรับให้ทันสมัยขึ้น
 การเผยแพร่:2010-05-05 14:46:24   ดูความถี่:0 แหล่ง:CRI
   นับตั้งแต่ปีนี้เป็นต้นมา เมื่อเศรษฐกิจจีนกระเตื้องขึ้น เกิดภาวะ "การขาดแคลนแรงงาน" ในพื้นที่ชายฝั่งทะเล

นับตั้งแต่ปีนี้เป็นต้นมา เมื่อเศรษฐกิจจีนกระเตื้องขึ้น เกิดภาวะ "การขาดแคลนแรงงาน" ในพื้นที่ชายฝั่งทะเล วิสาหกิจบางส่วนเปิดรับสมัครตำแหน่งงานได้ไม่ถึงเป้า ยังผลให้ไม่สามารถทำการผลิตได้เต็มกำลัง สำหรับการนี้ ผู้เชี่ยวชาญบางคนเห็นว่า นอกจากวิสาหกิจควรปรับเพิ่มอัตราค่าจ้างให้สูงขึ้นและโยกย้ายฐานการผลิตไปยังพื้นที่อื่นๆ แล้ว สิ่งที่สำคัญกว่านี้คือ ควรเร่งปรับโครงสร้างอุตสาหกรรมและเทคโนโลยีให้ทันสมัยยิ่งขึ้น และเปลี่ยนสภาพจากการอาศัยเพียงแรงงานราคาถูกอย่างเดียว

นับตั้งแต่ช่วงต้นปีนี้เป็นต้นมา เมื่อเศรษฐกิจโลกโดยรวมกระเตื้องขึ้น วิสาหกิจหลายต่อหลายรายของจีนมีใบสั่งซื้อเพิ่มขึ้นมาก แต่ขาดแคลนพนักงานที่มีความถนัดอย่างหนัก ทั้งสาขาการผลิตเครื่องใช้ไฟฟ้า การแปรรูปเครื่องจักรกล การผลิตเสื้อผ้าและรองเท้า ซึ่งก่อให้เกิดความสนใจอย่างกว้างขวางในสังคม นายหู เสี่ยวอี้ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงทรัพยากรแรงงานและประกันสังคมจีนระบุว่า ภาวะ "การขาดแคลนแรงงาน" เป็นปรากฏการณ์ในบางช่วงเวลาและบางพื้นที่เท่านั้น ซึ่งเกี่ยวข้องกับภาครวมทางเศรษฐกิจ นโยบายของรัฐ และค่านิยมของแรงงาน

"ภาวะเช่นนี้ ผมคิดว่าเป็นภาวะที่เกิดขึ้นในบางพื้นที่ บางสาขา และบางช่วงเวลา ผลการสำรวจพบว่า หลังช่วงเทศกาลตรุษจีน วิสาหกิจมีความต้องการในการว่าจ้างแรงงานเพิ่มขึ้นร้อยละ 15 เมื่อเทียบกับปีที่แล้ว กิจการบางสาขาในพื้นที่ชายฝั่งทะเลจึงว่าจ้างงานค่อนข้างลำบาก ทั้งนี้มีส่วนเกี่ยวข้องกับการโยกย้ายฐานการผลิต และแรงงานเกษตรกรที่ประสงค์จะหางานทำในภูมิลำเนาเดิม"

นอกจากนี้ แรงงานเกษตรกรรุ่นใหม่มีเงื่อนไขในการรับจ้างสูงขึ้น เมื่อเทียบกับรุ่นบิดา แรงงานเกษตรกรรุ่นใหม่ซึ่งเป็นรุ่นที่เกิดหลังปีทศวรรษ 1980 กระทั่ง 1990 มีความคิดเสรีมากขึ้น และมีวุฒิการศึกษาสูงขึ้น จึงต้องการค่าจ้าง การประกันและสวัสดิการสูงขึ้น

สำหรับปรากฏการณ์เช่นนี้ นายชั่ย ฝ่าง ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยประชากรกับเศรษฐศาสตร์แรงงาน สภาวิทยาศาสตร์สังคมแห่งประเทศจีน (IPLE-CASS) ระบุว่า กล่าวจากบางแง่แล้ว ภาวะ "การขาดแคลนแรงงาน" นับเป็นปรากฏการณ์ที่ดี จะมีส่วนช่วยให้แรงงานเกษตรกรมีรายได้เพิ่มขึ้น และส่งเสริมการโยกย้ายฐานการผลิต ขณะเดียวกันจะเป็นปัจจัยส่งเสริมให้วิสากหิจเร่งปรับโครงสร้างอุตสาหกรรมและเทคโนโลยีให้ทันสมัยขึ้นโดยเร็ว ซึ่งจะช่วยให้เศรษฐกิจจีนสามารถพัฒนาอย่างยั่งยืน

"มองด้านบวกแล้ว 'การขาดแคลนแรงงาน' นับเป็นการส่งสัญญาณว่า อุปสงค์อุปทานด้านแรงงานเกิดการเปลี่ยนแปลงในระดับหนึ่ง หมายความว่า ค่าจ้างของแรงงานเกษตรกรจะปรับสูงขึ้นต่อแต่นี้ไป การขาดแคลนแรงงานกว่าจะแก้ได้ ก็ต้องให้วิสาหกิจปรับเพิ่มค่าจ้าง จึงจะสามารถดึงดูดแรงงานให้มารับจ้างได้ รวมถึงให้จัดสรรฐานการผลิตใหม่ โดยโยกย้ายภาคการผลิตที่ใช้แรงงานจากพื้นที่ชายฝั่งทะเลไปยังพื้นที่ทางภาคตะวันตก"

ผลการสำรวจของกระทรวงทรัพยากรแรงงานและประกันสังคมจีนระบุว่า จนถึงวันที่ 10 มีนาคม มีการขาดแคลนแรงงานเกือบล้านคนในมณฑลกวางตุ้งและฝูเจี้ยน ส่วนมณฑลเจ้อเจียงก็มีตำแหน่งงานว่างประมาณร้อยละ 17
 

ขอแนะนำให้คุณอ่าน

ช่องแนะนำ

ด้านบน คิดเห็น