เขตการค้าเสรีจีน-อาเซียนเร่งการผสานวัฒนธรรมส่วนภูมิภาค
การเผยแพร่:2010-05-05 15:20:03
ดูความถี่:0
แหล่ง:CRI
เขตการค้าเสรีจีน-อาเซียนได้สร้างแล้วเสร็จเมื่อวันที่ 1 มกราคมนี้ ในที่ประชุมฟอรั่มเขตการค้าเสรีจีน-อาเซ
เขตการค้าเสรีจีน-อาเซียนได้สร้างแล้วเสร็จเมื่อวันที่ 1 มกราคมนี้ ในที่ประชุมฟอรั่มเขตการค้าเสรีจีน-อาเซียนที่เมืองหนานหนิงเมื่อช่วง 7-8 มกราคมนี้ ผู้เชี่ยวชาญที่เกี่ยวข้องกล่าวว่า เขตการค้าเสรีฯ จะเป็น"ตัวกระตุ้น"การผสมผสานวัฒนธรรมระหว่างจีนกับอาเซียน
ระหว่างการจัดประชุมเป็นเวลา 2 วัน บุคคลในแวดวงธุรกิจจากประเทศอาเซียนจํานวนมากได้พูดคุยเกี่ยวกับความร่วมมือและการลงทุนกับนักธุรกิจจีนโดยใช้ภาษาจีนที่คล่องแคล่ว
นางนันทวัลย์ ศกุนตนาค อธิบดีกรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศกระทรวงพาณิชย์ไทยกล่าวในที่ประชุมว่า แต่ละปีมีนักท่องเที่ยวจีนกว่า 5 ล้านคนไปเที่ยวที่ประเทศอาเซียน ปัจจุบัน จีนกับอาเซียนได้สร้างศูนย์จีน-อาเซียนที่กรุงปักกิ่ง เพื่อส่งเสริมความร่วมมือด้านต่างๆ เช่นวัฒนธรม การศึกษาระหว่างสองฝ่าย ขณะเดียวกันกําลังพัฒนาโครงการเกี่ยวกับเยาวชน
เนื่องจากมีภูมิประเทศใกล้กัน มีวัฒนธรรมที่คล้ายคลึงกัน จีนกับอาเซียนได้ส่งเสริมการแลกเปลี่ยนความร่วมมือด้านวัฒนธรรมระหว่างกันมากยิ่งขึ้น ปี 2005 จีนกับอาเซียนร่วมกันลงนามใน"บันทึกช่วยจําเพื่อความร่วมมือทางวัฒนธรรม" ปี 2006 เริ่มจัดการประชุมฟอรั่มเกี่ยวกับวัฒนธรรมจีน-อาเซียน และงานแสดงสินค้าจีน-อาเซียนที่ได้จัดขึ้นอย่างต่อเนื่องกัน 6 ปีซึ่งเริ่มในปี 2004 ก็ได้สร้างเวทีส่งเสริมการแลกเปลี่ยนความร่วมมือระหว่างสองฝ่าย การแลกเปลี่ยนวัฒนธรรมระหว่างจีนกับอาเซียน เกิดขึ้นทั้งในระดับรัฐบาลและภาคเอกชน
เฉพาะปี 2009 ปีเดียว เมืองหนานหนิงได้จิดกิจกรรมต่างๆ ด้วยความสําเร็จ เช่น ค่ายเยาวชนจีน-อาเซียน เทศกาลประเพณีไทย เทศกาลศิลปะเพลงพื้นบ้านระหว่างประเทศหนานหนิง การประกวดภาพถ่ายระหว่างประเทศจีน-อาเซียน และการประชุมฟอรั่มโทรทัศน์จีน-อาเซียน เดือนกรกฎาคม จีนกับประเทศอาเซียนได้ผ่าน"โครงการเกี่ยวกับวัฒนธรรมจีน-อาเซียน" และได้ลงนามใน"หนังสือริเริ่มเกี่ยวกับการแลกเปลี่ยนวัฒนธรรมของเยาวชนจีน-อาเซียน"ที่เมืองปีนัง (Penang)ของมาเลเซีย
ในมหาวิทยาลัยชนชาติกวางสี ซึ่งเป็นสถาบันอุดมศึกษาที่มีการจัดการเรียนการสอนวิชาภาษาในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้มากที่สุดของกวางสี สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารีทรงลงทุนสร้างศูนย์ข้อมูลภาษาไทย ซึ่งเป็นสิ่งก่อสร้างที่มีหลังคาเป็นสีทองมีเอกลักษณ์ไทย แต่ละวันมีนักศึกษาจีนนับร้อยคนมาเรียนวัฒนธรรมและภาษาของเอเซียตะวันออกเฉียงใต้ ฟังวิทยุของเอเซียตะวันออกเฉียงใต้ อ่านนิตยสารเอเซียตะวันออกเฉียงใต้ฉบับล่าสุด อภิปรายปัญหากับครูจากเอเซียตะวันออกเฉียงใต้
นางหลี่ หยาง นักศึกษาวิชาภาษาไทยชั้น 2006 มหาิวิทยาลัยชนชาติกวางสีที่อยากเป็นอาสาสมัครครูสอนภาษาจีนผ่านการคัดเลือกเบื้องต้นแล้ว ได้เริ่มไปฝึกอบรมเป็นเวลา 4 เดือนเมื่อวันที่ 9 มกราคมที่ผ่านมา เธอเคยไปเรียนที่มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรีหนึ่งปี เธอกล่าวว่า ในประเทศไทย คนไทยก็ฉลองวันตรุษจีนและวันไหว้พระจันทร์เช่นกัน มีคนไทยจํานวนมากชอบภาพยนตร์กังฟูของจีน เมื่อนักเรียนจากจีนเข้าร่วมการแสดงต่างๆ ไม่เพียงแต่โชว์ชุดกี่เพ้าจีน ไท้เก๊ก เต้นระบําชนเผ่าในจีนเท่านั้น หากยังแสดงระบําที่มีเอกลักษณ์พิเศษของเอเซียตะวันออกเฉียงใต้ด้วย นอกจากนี้ ยังได้ดําเนินการแลกเปลี่ยนทางศิลปะวัฒนธรรม
เนื่องจากเขตปกครองตนเองชนชาติจ้วงกวางสีมีความได้เปรียบด้านทําเลที่ตั้งและทรัพยากร นายหยู ยีจง อธิบดีกรมวัฒนธรรมเขตปกครองตนเองชนชาติจ้วงกวางสีกล่าวว่า ในอนาคต กวางสีจะพัฒนากิจการต่างๆ อาทิ กิจการท่องเที่ยงทางวัฒนธรรม นิทรรศการทางวัฒนธรรม และแอนิเมชั่น เป็นต้น ส่งเสริมให้กวางสีกับอาเซียนเปิดตลาดการค้าทางวัฒนธรรมมากยิ่งขึ้น ขยายลู่ทางการค้าวัฒนธรรมให้กว้างยิ่งขึ้น
ระหว่างการจัดประชุมเป็นเวลา 2 วัน บุคคลในแวดวงธุรกิจจากประเทศอาเซียนจํานวนมากได้พูดคุยเกี่ยวกับความร่วมมือและการลงทุนกับนักธุรกิจจีนโดยใช้ภาษาจีนที่คล่องแคล่ว
นางนันทวัลย์ ศกุนตนาค อธิบดีกรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศกระทรวงพาณิชย์ไทยกล่าวในที่ประชุมว่า แต่ละปีมีนักท่องเที่ยวจีนกว่า 5 ล้านคนไปเที่ยวที่ประเทศอาเซียน ปัจจุบัน จีนกับอาเซียนได้สร้างศูนย์จีน-อาเซียนที่กรุงปักกิ่ง เพื่อส่งเสริมความร่วมมือด้านต่างๆ เช่นวัฒนธรม การศึกษาระหว่างสองฝ่าย ขณะเดียวกันกําลังพัฒนาโครงการเกี่ยวกับเยาวชน
เนื่องจากมีภูมิประเทศใกล้กัน มีวัฒนธรรมที่คล้ายคลึงกัน จีนกับอาเซียนได้ส่งเสริมการแลกเปลี่ยนความร่วมมือด้านวัฒนธรรมระหว่างกันมากยิ่งขึ้น ปี 2005 จีนกับอาเซียนร่วมกันลงนามใน"บันทึกช่วยจําเพื่อความร่วมมือทางวัฒนธรรม" ปี 2006 เริ่มจัดการประชุมฟอรั่มเกี่ยวกับวัฒนธรรมจีน-อาเซียน และงานแสดงสินค้าจีน-อาเซียนที่ได้จัดขึ้นอย่างต่อเนื่องกัน 6 ปีซึ่งเริ่มในปี 2004 ก็ได้สร้างเวทีส่งเสริมการแลกเปลี่ยนความร่วมมือระหว่างสองฝ่าย การแลกเปลี่ยนวัฒนธรรมระหว่างจีนกับอาเซียน เกิดขึ้นทั้งในระดับรัฐบาลและภาคเอกชน
เฉพาะปี 2009 ปีเดียว เมืองหนานหนิงได้จิดกิจกรรมต่างๆ ด้วยความสําเร็จ เช่น ค่ายเยาวชนจีน-อาเซียน เทศกาลประเพณีไทย เทศกาลศิลปะเพลงพื้นบ้านระหว่างประเทศหนานหนิง การประกวดภาพถ่ายระหว่างประเทศจีน-อาเซียน และการประชุมฟอรั่มโทรทัศน์จีน-อาเซียน เดือนกรกฎาคม จีนกับประเทศอาเซียนได้ผ่าน"โครงการเกี่ยวกับวัฒนธรรมจีน-อาเซียน" และได้ลงนามใน"หนังสือริเริ่มเกี่ยวกับการแลกเปลี่ยนวัฒนธรรมของเยาวชนจีน-อาเซียน"ที่เมืองปีนัง (Penang)ของมาเลเซีย
ในมหาวิทยาลัยชนชาติกวางสี ซึ่งเป็นสถาบันอุดมศึกษาที่มีการจัดการเรียนการสอนวิชาภาษาในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้มากที่สุดของกวางสี สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารีทรงลงทุนสร้างศูนย์ข้อมูลภาษาไทย ซึ่งเป็นสิ่งก่อสร้างที่มีหลังคาเป็นสีทองมีเอกลักษณ์ไทย แต่ละวันมีนักศึกษาจีนนับร้อยคนมาเรียนวัฒนธรรมและภาษาของเอเซียตะวันออกเฉียงใต้ ฟังวิทยุของเอเซียตะวันออกเฉียงใต้ อ่านนิตยสารเอเซียตะวันออกเฉียงใต้ฉบับล่าสุด อภิปรายปัญหากับครูจากเอเซียตะวันออกเฉียงใต้
นางหลี่ หยาง นักศึกษาวิชาภาษาไทยชั้น 2006 มหาิวิทยาลัยชนชาติกวางสีที่อยากเป็นอาสาสมัครครูสอนภาษาจีนผ่านการคัดเลือกเบื้องต้นแล้ว ได้เริ่มไปฝึกอบรมเป็นเวลา 4 เดือนเมื่อวันที่ 9 มกราคมที่ผ่านมา เธอเคยไปเรียนที่มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรีหนึ่งปี เธอกล่าวว่า ในประเทศไทย คนไทยก็ฉลองวันตรุษจีนและวันไหว้พระจันทร์เช่นกัน มีคนไทยจํานวนมากชอบภาพยนตร์กังฟูของจีน เมื่อนักเรียนจากจีนเข้าร่วมการแสดงต่างๆ ไม่เพียงแต่โชว์ชุดกี่เพ้าจีน ไท้เก๊ก เต้นระบําชนเผ่าในจีนเท่านั้น หากยังแสดงระบําที่มีเอกลักษณ์พิเศษของเอเซียตะวันออกเฉียงใต้ด้วย นอกจากนี้ ยังได้ดําเนินการแลกเปลี่ยนทางศิลปะวัฒนธรรม
เนื่องจากเขตปกครองตนเองชนชาติจ้วงกวางสีมีความได้เปรียบด้านทําเลที่ตั้งและทรัพยากร นายหยู ยีจง อธิบดีกรมวัฒนธรรมเขตปกครองตนเองชนชาติจ้วงกวางสีกล่าวว่า ในอนาคต กวางสีจะพัฒนากิจการต่างๆ อาทิ กิจการท่องเที่ยงทางวัฒนธรรม นิทรรศการทางวัฒนธรรม และแอนิเมชั่น เป็นต้น ส่งเสริมให้กวางสีกับอาเซียนเปิดตลาดการค้าทางวัฒนธรรมมากยิ่งขึ้น ขยายลู่ทางการค้าวัฒนธรรมให้กว้างยิ่งขึ้น
ขอแนะนำให้คุณอ่าน
- ศูนย์วัฒน์ฯจีนเปิดงานปีวัฒนธรรมอันฮุย 2016
- จัดเสวนานิเทศศาสตร์แห่งเอเชียครั้งแรกที่กรุงเทพฯ
- น้ำพริกเชื่อมจีน-ไทย
- สิงคโปร์ตั้งงบ 25 ล้านเหรียญเพื่อส่งเสริมภาษาแม่
- มวยไทยพบงิ้วเสฉวน เดินหน้าแลกเปลี่ยนไทย-จีน
- วรรณกรรมของจีนได้รับความนิยมในพม่า
- จัดตั้งศูนย์วัฒนธรรมไทยศึกษาที่เขตปกครองตนเองชนชาติจ้วงกว่างซี
- จีน-เวียดนามร่วมถ่ายทำภาพยนตร์เรื่อง เย่ว์หลายเย่ว์จ่ง เปิดกล้องที่เมืองโฮจิมินห์ซิตี้
- มหาวิทยาลัยภาษาต่างประเทศของปักกิ่งจัดตั้งสถาบันวิจัยเส้นทางสายไหม
- เปิดสัปดาห์วัฒนธรรมอาเซียน ครั้งแรก ที่กรุงปักกิ่ง
วิดีโอยอดนิยม
ช่องแนะนำ
ด้านบน คิดเห็น
- ภารกิจการขนส่งมนุษย์ของสถานีอวกาศของจีนสร้างสถิติอย่างต่อเนื่อง
- แถลงการณ์คณะกรรมการจัดงานพิธีศพสหายเจียงเจ๋อหมิน ฉบับที่ 2
- ทั่วประเทศจีนไว้อาลัยการจากไปของสหายเจียงเจ๋อหมิน
- จีนคงความสามารถด้านโลจิสติกส์
- คณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติจัดพิธีไว้อาลัยการถึงแก่อสัญกรรมของเจียงเจ๋อหมิน
- เมืองและพื้นที่ 36 แห่งของจีนริเริ่มระบบบำนาญส่วนบุคคล
- FAW Toyota ผลิตรถยนต์คันที่ 10 ล้านในเทียนจิน
- ผู้นำและหัวหน้าองค์กรระหว่างประเทศต่างๆร่วมแสดงความเสียใจการถึงแก่อสัญกรรมของเจียงเจ๋อหมิน
- รองนายกฯ จีนเน้น ปรับปรุงมาตรการป้องกันควบคุมโรคระบาดให้ดีขึ้นอย่างต่อเนื่อง
- ผลไม้อาเซียนได้รับความนิยมในประเทศจีน