ความร่วมมือในด้านต่างๆ ระหว่างจีนกับอาเซียน
การเผยแพร่:2010-05-05 15:01:28
ดูความถี่:0
แหล่ง:CRI
หลายปีมานี้ นับวันจีนและประเทศสมาชิกอาเซียนต่างๆ มีความร่วมมือในด้านการเกษตรใกล้ชิดยิ่งขึ้น ทั้งค่อยๆ
หลายปีมานี้ นับวันจีนและประเทศสมาชิกอาเซียนต่างๆ มีความร่วมมือในด้านการเกษตรใกล้ชิดยิ่งขึ้น ทั้งค่อยๆ พัฒนากลายมาเป็นส่วนประกอบสำคัญของความร่วมมือระหว่างจีนกับอาเซียน ตั้งแต่ปี 2002 เป็นต้นมา จีนและสำนักเลขาธิการอาเซียนได้ลงนามและลงนามเพื่อต่ออายุ "บันทึกความเข้าใจเกี่ยวกับความร่วมมือทางการเกษตร" ซึ่งได้ผลักดันการพัฒนาความร่วมมือทางการเกษตรระหว่างจีนกับอาเซียนให้ลึกซึ่งยิ่งขึ้น
กระทรวงเกษตรจีนคำนึงถึงสภาพความเป็นจริงและเอกลักษณ์ของการพัฒนาการเกษตรในประเทศอาเซียน ได้จัดการฝึกอบรม และการประชุมสัมมนาหลายครั้ง ดำเนินการแลกเปลี่ยนเทคโนโลยีทางการเกษตร เลือกประเทศที่มีเงื่อนไขพร้อมดำเนินโครงการสาธิตเพื่อกระชับความร่วมมือทางการเกษตรแบบพหุภาคีระหว่างจีนกับอาเซียน
โครงการความร่วมมือทางการเกษตรระหว่างจีนกับอาเซียนสอดคล้องกับจุดสำคัญของการพัฒนาการเกษตรของประเทศอาเซียน จึงได้รับการสนับสนุนอย่างยิ่งจากรัฐบาลประเทศที่มีส่วนร่วมในโครงการความร่วมมือนี้ เช่น โครงการสาธิตข้าวนาพันธุ์ผสมแห่งศูนย์เทคโนโลยีทางการเกษตรระหว่างจีนกับฟิลิปปินส์ได้ส่งเสริมการเพาะปลูกข้าวของฟิลิปปินส์อย่างมาก โครงการฯ นี้เป็นจุดสำคัญของการพัฒนาการเกษตรของรัฐบาลฟิลิปปินส์ จึงได้รับการสนับสนุนจากวงการต่างๆ ของฟิลิปปินส์ตั้งแต่เริ่มดำเนินโครงการ และขยายบทบาทในด้านการสาธิตและส่งเสริมข้าวนาพันธุ์ผสมและเครื่องจักรการเกษตรของจีนอย่างเต็มที่ ปูพื้นฐานให้กับความร่วมมือในระยะต่อไป เช่นเดียวกับรัฐบาลเวียดนามได้จัดสรรเงินจำนวน 4 ล้านหยวนให้กับ "โครงการสาธิตเครื่องอุปกรณ์อาหารสัตว์ระหว่างจีนกับเวียดนาม" และเร่งกระบวนการดำเนินงาน ทั้งขยายเนื้อหาของโครงการให้กว้างซึ่งขึ้นด้วย
เศรษฐกิจและการค้า
การลงนามใน "ข้อตกลงว่าด้วยการลงทุน" ระหว่างจีนและอาเซียนนั้นไม่เพียงแต่ส่งเสริมการลงทุนระหว่างกันอย่างมากเท่านั้น แต่ยังเป็นสัญลักษณ์แห่งความสำเร็จการเจรจาเกี่ยวกับเขตการค้าเสรีจีน-อาเซียนอย่างสมบูรณ์ ภายหลังการลงนามและปฏิบัติการตามข้อตกลงเกี่ยวกับสินค้า การบริการและการลงทุน จึงถือได้ว่าเป็นการเสร็จสิ้นการก่อตั้งเขตการค้าเสรีจีน-อาเซียนอย่างทั่วด้านในปี 2010 และภายใต้วิกฤตการเงินโลกในปัจจุบัน การเจรจาเกี่ยวกับเขตการค้าเสรีฯที่สิ้นสุดลงด้วยความสำเร็จนั้นสะท้อนให้เห็นถึงความมั่นใจและความตั้งใจของจีนและอาเซียนที่จะร่วมแรงร่วมใจกันรับมือวิกฤตการเงิน ส่งเสริมการค้าเสรีต่อไปและคัดค้านลัทธิกีดกันทางการค้า ซึ่งเป็นปฏิบัติการที่มีประสิทธิิผลในการฟื้นฟูความมั่นใจ และร่วมกันต่อต้านความยากลำบากของทั้งสองฝ่าย
การคมนาคม
ตั้งแต่ปี 2002 จีนและอาเซียนจัดตั้งกลไกการประชุมรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมจีน-อาเซียน ได้จัดการประชุม 7 ครั้ง และปฏิบัติตาม "บันทึกความเข้าใจว่าด้วยความร่วมมือทางการคมนาคมจีน-อาเซียน" ที่ลงนามเมื่อปี 2004 ดำเนินโครงการความร่วมมือในการสร้างสิ่งอำนวยความสะดวกขั้นพื้นฐานหลายรายการ เปิดเส้นทางการคมนาคมทางเรือ ทางบกและทางอากาศหลากหลายเส้นทาง ดำเนินความร่วมมือในด้านการกู้ภัยในน่านน้ำทะเล ความปลอดภัยทางทะเลป้องกันและขจัดมลภาวะที่ก่อขึ้นโดยเรือ
ในระหว่างการประชุมรัฐมนตรีครั้งที่ 7 ที่จัดขึ้นเมื่อปี 2008 สองฝ่ายได้กำหนดแผนยุทธศาสตร์ความร่วมมือทางการคมนาคมในอีก 10-15 ปีข้างหน้าระหว่างจีนและอาเซียน ซึ่งนับเป็นการปฏิบัติที่เป็นรูปธรรมตามข้อเสนอที่นายเวิน เจียเป่า นายกรัฐมนตรีจีนเสนอในที่ประชุมผู้นำจีน-อาเซียนครั้งที่ 10 ที่จัดขึ้นเมื่อปี 2007 ช่องทางใหญ่ 7 สาย ที่เป็นแบบ " 4 ตั้ง 3 ขวาง " ครอบคลุมโครงการก่อสร้างสิ่งอำนวยความสะดวกทั้งทางบกทางทะเลและทางอากาศ 90 รายการ ซึ่งสามารถเชื่อมต่อเมืองสำคัญและแหล่งผลิตอุตสาหกรรมและการเกษตรของจีนและอาเซียนได้
การคลังและการเงิน
ระหว่างเดือนมีนาคมถึงเมษายนปี 1999 การประชุมรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลังและรองผู้ว่าการธนาคารกลางของประเทศอาเซียง จีน ญี่ปุ่น และเกาหลีใต้หรือ "10+3" ครั้งแรกและการประชุมรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง "10+3" ครั้งแรกจัดขึ้นที่กรุงฮานอย เมืองหลวงเวียดนาม และกรุงมะนีลา เมืองหลวงฟิลิปปินส์ ตามลำดับซึ่งเป็นสัญลักษณ์ที่แสดงให้เห็นว่า กลไกความร่วมมือทางเศรษฐกิจและการคลัง "10+3" ก่อรูปขึ้นในขั้นพื้นฐานแล้ว
จนถึงปัจจุบันกลไกความร่วมมือทางเศรษฐกิจและการคลัง 10+3 มีการจัดประชุมรัฐมนตรีการคลัง 12 ครั้ง จุดสำคัญในปัจจุบันคือผลักดันกระบวนการความเป็นแบบพหุภาคีของข้อเสนอเชียงใหม่และพัฒนาตลาดพันธบัตรเอเชีย
ในด้านกลไกช่วยเหลือทางเงินทุนส่วนภูมิภาค เมื่อเดือนพฤษภาคม ปี 2000 การประชุมรัฐมนตรีการคลังลงมติผ่านข้อเสนอเชียงใหม่ที่มีการแลกเปลี่ยนเงินตราแบบทวิภาคีเป็นเนื้อหาสำคัญ โดยมีเป้าหมายสำคัญคือแก้ไขความยากลำบากด้านสภาพคล่องในระยะัสั้นภายในภูมิภาค พิธีให้การเงินระหว่างประเทศมีความสมบูรณ์ยิ่งขึ้น ตั้งแต่ปี 2001 เป็นต้นมา จีนและญี่ปุ่น เกาหลีใต้ ไทย มาเลเซีย อินโดนีเซีย และฟิลิปปินส์รวม 6 ประเทศต่างลงนามข้อตกลงว่าด้วยการแลกเปลี่ยนเงินตราระหว่างกันทั้งหมด 6 ฉบับ จนถึงปลายปี 2008 ด้วยความส่งเสริมของข้อเสนอเชียงใหม่ ประเทศ 10+3 ได้ลงนามข้อตกลงว่าด้วยการแลกเปลี่ยนเงินตราแบบทวิภาคีทั้งหมด 16 ฉบับ โดยมียอดเงินรวมถึง 84,000 ล้านเหรียญสหรัฐ เมื่อวันที่ 3 เดือนพฤษภาคมปี 2009 ที่เกาะบาหลีของอินโดนีเซีย การประชุมรัฐมนตรีการคลัง 10+3 (อาเซียน+จีน ญี่ปุ่น เกาหลีใต้) ครั้งที่ 12 ได้บรรลุความเป็นเอกฉันท์เกี่ยวกับปัจจัยสำคัญของการก่อตั้งคลังสำรองเงินตราต่างประเทศ ซึ่งเป็นสัญลักษณ์ที่กระบวนการความเป็นแบบพหุภาคีของข้อเสนอเชียงใหม่ประสบผลคืบหน้าสำคัญ
ข้อเสนอว่าด้วยการพัฒนาตลาดพันธบัตรเอเซียย (หรือ เอบีเอ็มไอ) เสนอขึ้นโดยประเทศไทยเมื่อปี 2003 ตั้งแต่เริ่มต้นแล้ว เอบีเอ็มไอ ได้ขยายบทบาทส่งเสริมการพัฒนาตลาดพันธบัตรส่วนภูมิภาค ส่งเสริมให้พันธบัตรและผู้ลงทุนมีความหลากหลาย การพัฒนาสิ่งอำนวยความสะดวกขั้นพื้นฐานของตลาดพันธบัตรด้วยดี
เพื่อประสานทรัพยากรและเพิ่มประสิทธิภาพให้ดีขึ้น เมื่อเดือนพฤษภาคมปี 2008 การประชุมรัฐมนตรีการคลัง 10+3 ที่จัดขึ้นที่กรุงมาดริดลงมติผ่านโรดแม็พใหม่ของ เอบีเอ็มไอ รวบ 6 ทีมงานเดิมให้เป็น 4 ทีมงานใหม่ ปัจจุบัน ฝ่ายต่างๆ กำลังดำเินินการวิจัยที่เกี่ยวข้องตามโรดแม็พใหม่นี้อยู่
(ข้อมูลจากกระทรวงการเกษตรจีน กระทรวงพาณิชย์จีน กระทรวงการคมนาคมและการขนส่งจีน และกระทรวงการคลังจีน)
กระทรวงเกษตรจีนคำนึงถึงสภาพความเป็นจริงและเอกลักษณ์ของการพัฒนาการเกษตรในประเทศอาเซียน ได้จัดการฝึกอบรม และการประชุมสัมมนาหลายครั้ง ดำเนินการแลกเปลี่ยนเทคโนโลยีทางการเกษตร เลือกประเทศที่มีเงื่อนไขพร้อมดำเนินโครงการสาธิตเพื่อกระชับความร่วมมือทางการเกษตรแบบพหุภาคีระหว่างจีนกับอาเซียน
โครงการความร่วมมือทางการเกษตรระหว่างจีนกับอาเซียนสอดคล้องกับจุดสำคัญของการพัฒนาการเกษตรของประเทศอาเซียน จึงได้รับการสนับสนุนอย่างยิ่งจากรัฐบาลประเทศที่มีส่วนร่วมในโครงการความร่วมมือนี้ เช่น โครงการสาธิตข้าวนาพันธุ์ผสมแห่งศูนย์เทคโนโลยีทางการเกษตรระหว่างจีนกับฟิลิปปินส์ได้ส่งเสริมการเพาะปลูกข้าวของฟิลิปปินส์อย่างมาก โครงการฯ นี้เป็นจุดสำคัญของการพัฒนาการเกษตรของรัฐบาลฟิลิปปินส์ จึงได้รับการสนับสนุนจากวงการต่างๆ ของฟิลิปปินส์ตั้งแต่เริ่มดำเนินโครงการ และขยายบทบาทในด้านการสาธิตและส่งเสริมข้าวนาพันธุ์ผสมและเครื่องจักรการเกษตรของจีนอย่างเต็มที่ ปูพื้นฐานให้กับความร่วมมือในระยะต่อไป เช่นเดียวกับรัฐบาลเวียดนามได้จัดสรรเงินจำนวน 4 ล้านหยวนให้กับ "โครงการสาธิตเครื่องอุปกรณ์อาหารสัตว์ระหว่างจีนกับเวียดนาม" และเร่งกระบวนการดำเนินงาน ทั้งขยายเนื้อหาของโครงการให้กว้างซึ่งขึ้นด้วย
เศรษฐกิจและการค้า
การลงนามใน "ข้อตกลงว่าด้วยการลงทุน" ระหว่างจีนและอาเซียนนั้นไม่เพียงแต่ส่งเสริมการลงทุนระหว่างกันอย่างมากเท่านั้น แต่ยังเป็นสัญลักษณ์แห่งความสำเร็จการเจรจาเกี่ยวกับเขตการค้าเสรีจีน-อาเซียนอย่างสมบูรณ์ ภายหลังการลงนามและปฏิบัติการตามข้อตกลงเกี่ยวกับสินค้า การบริการและการลงทุน จึงถือได้ว่าเป็นการเสร็จสิ้นการก่อตั้งเขตการค้าเสรีจีน-อาเซียนอย่างทั่วด้านในปี 2010 และภายใต้วิกฤตการเงินโลกในปัจจุบัน การเจรจาเกี่ยวกับเขตการค้าเสรีฯที่สิ้นสุดลงด้วยความสำเร็จนั้นสะท้อนให้เห็นถึงความมั่นใจและความตั้งใจของจีนและอาเซียนที่จะร่วมแรงร่วมใจกันรับมือวิกฤตการเงิน ส่งเสริมการค้าเสรีต่อไปและคัดค้านลัทธิกีดกันทางการค้า ซึ่งเป็นปฏิบัติการที่มีประสิทธิิผลในการฟื้นฟูความมั่นใจ และร่วมกันต่อต้านความยากลำบากของทั้งสองฝ่าย
การคมนาคม
ตั้งแต่ปี 2002 จีนและอาเซียนจัดตั้งกลไกการประชุมรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมจีน-อาเซียน ได้จัดการประชุม 7 ครั้ง และปฏิบัติตาม "บันทึกความเข้าใจว่าด้วยความร่วมมือทางการคมนาคมจีน-อาเซียน" ที่ลงนามเมื่อปี 2004 ดำเนินโครงการความร่วมมือในการสร้างสิ่งอำนวยความสะดวกขั้นพื้นฐานหลายรายการ เปิดเส้นทางการคมนาคมทางเรือ ทางบกและทางอากาศหลากหลายเส้นทาง ดำเนินความร่วมมือในด้านการกู้ภัยในน่านน้ำทะเล ความปลอดภัยทางทะเลป้องกันและขจัดมลภาวะที่ก่อขึ้นโดยเรือ
ในระหว่างการประชุมรัฐมนตรีครั้งที่ 7 ที่จัดขึ้นเมื่อปี 2008 สองฝ่ายได้กำหนดแผนยุทธศาสตร์ความร่วมมือทางการคมนาคมในอีก 10-15 ปีข้างหน้าระหว่างจีนและอาเซียน ซึ่งนับเป็นการปฏิบัติที่เป็นรูปธรรมตามข้อเสนอที่นายเวิน เจียเป่า นายกรัฐมนตรีจีนเสนอในที่ประชุมผู้นำจีน-อาเซียนครั้งที่ 10 ที่จัดขึ้นเมื่อปี 2007 ช่องทางใหญ่ 7 สาย ที่เป็นแบบ " 4 ตั้ง 3 ขวาง " ครอบคลุมโครงการก่อสร้างสิ่งอำนวยความสะดวกทั้งทางบกทางทะเลและทางอากาศ 90 รายการ ซึ่งสามารถเชื่อมต่อเมืองสำคัญและแหล่งผลิตอุตสาหกรรมและการเกษตรของจีนและอาเซียนได้
การคลังและการเงิน
ระหว่างเดือนมีนาคมถึงเมษายนปี 1999 การประชุมรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลังและรองผู้ว่าการธนาคารกลางของประเทศอาเซียง จีน ญี่ปุ่น และเกาหลีใต้หรือ "10+3" ครั้งแรกและการประชุมรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง "10+3" ครั้งแรกจัดขึ้นที่กรุงฮานอย เมืองหลวงเวียดนาม และกรุงมะนีลา เมืองหลวงฟิลิปปินส์ ตามลำดับซึ่งเป็นสัญลักษณ์ที่แสดงให้เห็นว่า กลไกความร่วมมือทางเศรษฐกิจและการคลัง "10+3" ก่อรูปขึ้นในขั้นพื้นฐานแล้ว
จนถึงปัจจุบันกลไกความร่วมมือทางเศรษฐกิจและการคลัง 10+3 มีการจัดประชุมรัฐมนตรีการคลัง 12 ครั้ง จุดสำคัญในปัจจุบันคือผลักดันกระบวนการความเป็นแบบพหุภาคีของข้อเสนอเชียงใหม่และพัฒนาตลาดพันธบัตรเอเชีย
ในด้านกลไกช่วยเหลือทางเงินทุนส่วนภูมิภาค เมื่อเดือนพฤษภาคม ปี 2000 การประชุมรัฐมนตรีการคลังลงมติผ่านข้อเสนอเชียงใหม่ที่มีการแลกเปลี่ยนเงินตราแบบทวิภาคีเป็นเนื้อหาสำคัญ โดยมีเป้าหมายสำคัญคือแก้ไขความยากลำบากด้านสภาพคล่องในระยะัสั้นภายในภูมิภาค พิธีให้การเงินระหว่างประเทศมีความสมบูรณ์ยิ่งขึ้น ตั้งแต่ปี 2001 เป็นต้นมา จีนและญี่ปุ่น เกาหลีใต้ ไทย มาเลเซีย อินโดนีเซีย และฟิลิปปินส์รวม 6 ประเทศต่างลงนามข้อตกลงว่าด้วยการแลกเปลี่ยนเงินตราระหว่างกันทั้งหมด 6 ฉบับ จนถึงปลายปี 2008 ด้วยความส่งเสริมของข้อเสนอเชียงใหม่ ประเทศ 10+3 ได้ลงนามข้อตกลงว่าด้วยการแลกเปลี่ยนเงินตราแบบทวิภาคีทั้งหมด 16 ฉบับ โดยมียอดเงินรวมถึง 84,000 ล้านเหรียญสหรัฐ เมื่อวันที่ 3 เดือนพฤษภาคมปี 2009 ที่เกาะบาหลีของอินโดนีเซีย การประชุมรัฐมนตรีการคลัง 10+3 (อาเซียน+จีน ญี่ปุ่น เกาหลีใต้) ครั้งที่ 12 ได้บรรลุความเป็นเอกฉันท์เกี่ยวกับปัจจัยสำคัญของการก่อตั้งคลังสำรองเงินตราต่างประเทศ ซึ่งเป็นสัญลักษณ์ที่กระบวนการความเป็นแบบพหุภาคีของข้อเสนอเชียงใหม่ประสบผลคืบหน้าสำคัญ
ข้อเสนอว่าด้วยการพัฒนาตลาดพันธบัตรเอเซียย (หรือ เอบีเอ็มไอ) เสนอขึ้นโดยประเทศไทยเมื่อปี 2003 ตั้งแต่เริ่มต้นแล้ว เอบีเอ็มไอ ได้ขยายบทบาทส่งเสริมการพัฒนาตลาดพันธบัตรส่วนภูมิภาค ส่งเสริมให้พันธบัตรและผู้ลงทุนมีความหลากหลาย การพัฒนาสิ่งอำนวยความสะดวกขั้นพื้นฐานของตลาดพันธบัตรด้วยดี
เพื่อประสานทรัพยากรและเพิ่มประสิทธิภาพให้ดีขึ้น เมื่อเดือนพฤษภาคมปี 2008 การประชุมรัฐมนตรีการคลัง 10+3 ที่จัดขึ้นที่กรุงมาดริดลงมติผ่านโรดแม็พใหม่ของ เอบีเอ็มไอ รวบ 6 ทีมงานเดิมให้เป็น 4 ทีมงานใหม่ ปัจจุบัน ฝ่ายต่างๆ กำลังดำเินินการวิจัยที่เกี่ยวข้องตามโรดแม็พใหม่นี้อยู่
(ข้อมูลจากกระทรวงการเกษตรจีน กระทรวงพาณิชย์จีน กระทรวงการคมนาคมและการขนส่งจีน และกระทรวงการคลังจีน)
ขอแนะนำให้คุณอ่าน
- อาเซียนสร้างโอกาสสู่วิสาหกิจจีน
- จีนเปิดตัวรถยนต์พลังงานใหม่ที่บาหลีใช้งาน G20
- Peace Ark เรือพยาบาลภารกิจสันติภาพ กองทัพเรือจีนเดินทางถึงกรุงจาการ์ตา
- สมเด็จฮุนเซน นายกฯ กัมพูชาติดโควิดยกเลิกร่วมประชุมสุดยอดผู้นำกลุ่ม G20
- บทวิเคราะห์:งานมหกรรมแสดงสินค้าจีน-อาเซียนหนุนเขตการค้าเสรีจีน-อาเซียนก้าวขึ้นไปอีกขั้น
- บทวิเคราะห์: เหตุใดผู้ร่วมงานมหกรรมแสดงสินค้าจีน-อาเซียน มีความประสงค์กลับมาร่วมงานในอีกปีหน้า?
- มหกรรมจีน-อาเซียน ครั้งที่ 19 แสดงผลงานดีเด่นด้านความร่วมมือทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
- “โซนเมืองพี่เมืองน้องกว่างซี” เปิดตัวครั้งแรกในงาน CAEXPO ครั้งที่ 19
- งานมหกรรมจีน-อาเซียนครั้งที่ 19 ได้รับยอดการลงทุนจากโครงการที่เซ็นสัญญาแล้วถึง 4 แสนล้านหยวน
- เขตกว่างซีจัดฟอรั่มเพื่อความร่วมมือด้านสื่อมวลชน “หุ้นส่วนอาเซียน”
วิดีโอยอดนิยม
ช่องแนะนำ
ด้านบน คิดเห็น
- ภารกิจการขนส่งมนุษย์ของสถานีอวกาศของจีนสร้างสถิติอย่างต่อเนื่อง
- แถลงการณ์คณะกรรมการจัดงานพิธีศพสหายเจียงเจ๋อหมิน ฉบับที่ 2
- ทั่วประเทศจีนไว้อาลัยการจากไปของสหายเจียงเจ๋อหมิน
- จีนคงความสามารถด้านโลจิสติกส์
- คณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติจัดพิธีไว้อาลัยการถึงแก่อสัญกรรมของเจียงเจ๋อหมิน
- เมืองและพื้นที่ 36 แห่งของจีนริเริ่มระบบบำนาญส่วนบุคคล
- FAW Toyota ผลิตรถยนต์คันที่ 10 ล้านในเทียนจิน
- ผู้นำและหัวหน้าองค์กรระหว่างประเทศต่างๆร่วมแสดงความเสียใจการถึงแก่อสัญกรรมของเจียงเจ๋อหมิน
- รองนายกฯ จีนเน้น ปรับปรุงมาตรการป้องกันควบคุมโรคระบาดให้ดีขึ้นอย่างต่อเนื่อง
- ผลไม้อาเซียนได้รับความนิยมในประเทศจีน