นายกรัฐมนตรีอังกฤษคนใหม่คงต้องเผชิญกับอุปสรรค์นานับปการในการทำงาน
 การเผยแพร่:2010-05-13 16:38:50   ดูความถี่:0 แหล่ง:CRI

วันที่ 11 พฤษภาคมนี้ นายเดวิด คาเมรอน ผู้นำพรรคอนุรักษ์นิยมของอังกฤษได้ตอบรับคำเชิญของสมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 2 เข้าดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีคนใหม่ ความวุ่นวายทางการเมืองของอังกฤษหลังการเลือกตั้งทั่วไปจึงหยุดชะงักลง แต่นักวิเคราะห์ชี้ให้เห็นว่า นายคาเมรอนคงต้องเผชิญกับอุปสรรค์นานับปการบนเส้นทางการปฏิบัติงาน

บ่ายวันที่ 11 เมษายน นายกอร์ดอน บราวน์ได้ขอลาออกจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรี และทูลเสนอให้สมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 2 อนุมัติให้ผู้นำพรรคฝ่ายค้านจัดตั้งรัฐบาล นายบราวน์กล่าวว่า ในฐานะที่เป็นนายกรัฐมนตรี เขาได้พยายามปฏิบัติหน้าที่เพื่อผลประโยชน์ของชาติและประชาชนชาวอังกฤษอย่างเต็มความสามารถมาโดยตลอด และหวังว่านายกรัฐมนตรีคนใหม่จะปฏิบัติงานอย่างราบรื่น หลังจากนั้น นายบราวน์และครอบครัวได้ออกจากทำเนียบนายกรัฐมนตรี พร้อมกับยื่นเอกสารลาออกอย่างเป็นทางการ ซึ่งถือเป็นการสิ้นสุดการปกครองที่ยาวนาน 13 ปีของพรรคแรงงาน

หลังจากตอบรับคำเชิญของสมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 2 นายคาเมรอนแสดงความชื่นชมต่อนายบราวน์ที่ได้ปฏิบัติงานเพื่อประเทศชาติ เขายังกล่าวว่า เขาจะพยายามดึงพรรคเสรีประชาธิปไตยสร้างพรรคร่วม เพื่อจัดตั้งรัฐบาลที่มีความเข้มแข็งและมีเสถียรภาพ เขากับนายนิค เคล็กก์ ผู้นำพรรคเสรีประชาธิปไตยจะพยายามร่วมกันปฏิบัติงานเพื่อผลประโยชน์ของประเทศและผลประโยชน์ของทั้งสองพรรคร่วมกัน ปัญหาสำคัญที่ต้องเผชิญคือ การขาดดุลการคลัง เสถียรภาพของสังคม และการฟื้นฟูความเชื่อมั่นในระบอบการเมือง เขาจะพยายามใช้มาตรการที่แม้จะยุ่งยากเพื่อนำพาประชาชนให้พ้นออกจากความยากลำบาก บรรลุเป้าหมายที่ปฏิบัติได้อย่างเป็นจริง และสร้างสังคมอังกฤษที่มีความรับผิดชอบมากยิ่งขึ้น

หลังจากนายคาเมรอนดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี เขาได้แต่งตั้งนายวิลเลียม แฮ็ก เป็นรัฐมนตรีต่างประเทศ และแต่งตั้งนายจอร์จ ออสบอร์น เป็นรัฐมนตรีคลัง ทั้งนี้นับเป็นการแต่งตั้งที่มีความสำคัญในการรักษาเสถียรภาพของตลาดและสร้างความมั่นใจต่อตลาด ส่วนนายนิค เคล็กก์ ผู้นำพรรคเสรีประชาธิปไตยจะดำรงตำแหน่งรองนายกรัฐมนตรี โดยสมาชิก 4 คนของพรรคเสรีประชาธิปไตยจะเข้าร่วมเป็นสมาชิกคณะรัฐมนตรี ในวันเดียวกัน นายบารัก โอบามา ประธานาธิบดีสหรัฐฯได้โทรศัพท์แสดงความยินดีต่อนายคาเมรอนในการดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีคนใหม่ของอังกฤษ

นักวิเคราะห์เห็นว่า แม้ว่าพรรคอนุรักษ์นิยมกับพรรคเสรีประชาธิปไตยสามารถร่วมกันจัดตั้งรัฐบาลที่มีเสถียรภาพ แต่การบริหารประเทศร่วมกันของรัฐบาลผสมสองพรรคคงต้องเผชิญกับความยากลำบากนานัปการ ประการแรก จุดยืนทางการเมืองของสองพรรคแตกต่างกันค่อนข้างมาก แม้ว่าสองฝ่ายมีการประนีประนอมในการเจรจาเกี่ยวกับการรวมสองพรรคเป็นพรรคร่วมรัฐบาล แต่เมื่อร่วมกำหนดนโยบายการปกครองเกี่ยวกับปัญหาสำคัญต่างๆที่รวมถึงสหภาพยุโรป และการปฏิรูประบบการเลือกตั้ง ทั้งสองฝ่ายย่อมเกิดข้อขัดแย้งขึ้นอีก ซึ่งเป็นเงามืดที่ปกคลุกอยู่เบื้องหน้าของการบริหารประเทศร่วมกันของสองพรรค ประการที่สอง แม้ว่าที่นั่งของพรรคอนุรักษ์นิยมกับพรรคเสรีประชาธิปไตยในสภาผู้แทนราษฏรรวมกันมากกว่าครึ่งหนึ่ง แต่พรรคแรงงาน ซึ่งเป็นพรรคฝ่ายค้านก็ยังมีศักยภาพค่อนข้างสูง และอาจจะสร้างแรงต้านทานต่อรัฐบาลพรรคร่วมในการประกาศใช้นโยบายใหม่ ประการที่สาม เศรษฐกิจอังกฤษเพิ่งพ้นออกจากสภาพการซบเซาไม่นาน โดยที่การฟื้นตัวยังไม่มั่นคงนัก ตลาดการเงินเมื่อเร็วๆนี้ถดถอยอย่างรุนแรงไปตามสถานการณ์การเมืองของอังกฤษ หากการบริหารประเทศของรัฐบาลพรรคร่วมในด้านนโยบายเศรษฐกิจไม่เหมาะสม สิ่งนี้อาจจะทำลายการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจอังกฤษ และเป็นเหตุให้เกิดความปั่นป่วนทางเศรษฐกิจและการเมืองได้
 

ขอแนะนำให้คุณอ่าน

ช่องแนะนำ

ด้านบน คิดเห็น