จรวดแพทริออตรุ่นแรกของสหรัฐอเมริกาส่งถึงโปแลนด์
 การเผยแพร่:2010-05-26 17:32:30   ดูความถี่:0 แหล่ง:CRI

เมื่อวันที่ 24 พฤษภาคมที่ผ่านมา เจ้าหน้าที่สถานทูตสหรัฐอเมริกาประจำโปแลนด์ประกาศว่า จรวดแพทริออตรุ่นแรกของสหรัฐอฯ พร้อมกับกองทหารได้เดินทางถึงโปแลนด์เมื่อวันที่ 23 พฤษภาคม ซึ่งนับเป็นครั้งแรกหลังจากสงครามเย็นสิ้นสุดที่มีกองทหารต่างชาติประจำการระยะยาวในโปแลนด์ ทั้งยังสะท้อนให้เห็นถึงการที่สหรัฐฯดำเนินโครงการจัดตั้งระบบจรวดนำวิถีต่อต้านขีปนาวุธในยุโรปนั้น อาจทำให้ความสัมพันธ์ระหว่างสหรัฐฯกับรัสเซียที่เริ่มผ่อนคลายลงเมื่อเร็วๆ นี้ได้รับผลกระทบขึ้นมาอีกครั้ง

นายแอนดรูว์ ปอล โฆษกของสถานทูตสหรัฐอเมริกาประจำโปแลนด์กล่าว ในวันเดียวกันว่า จรวดแพทริออตรุ่นแรก รวมทั้งนายทหารอเมริกัน 100 นายนี้ได้เดินทางถึงฐานทัพโมราก ทางภาคเหนือของโปแลนด์ โดยจะผลัดเปลี่ยนกันรอบละ 30 วันในการประจำฐานทัพไคเซอร์สเลาเทิร์นในเยอรมนีและฐานทัพโมรากภายในเวลา 2 ปีข้างหน้า

การส่งจรวดแพทริออตถึงโปแลนด์เป็นส่วนหนึ่งของโครงการจัดตั้งระบบจรวดนำวิถีต่อต้านขีปนาวุธในโปแลนด์ของสหรัฐฯ เมื่อเดือนมกราคม ปี 2550 สหรัฐฯ กับโปแลนด์ได้ฟื้นฟูการเจรจาเกี่ยวกับการก่อตั้งฐานทัพต่อต้านขีปนาวุธในโปแลนด์ และได้ลงนามในสนธิสัญญาว่าด้วยการก่อตั้งฐานทัพต่อต้านขีปนาวุธระหว่างโปแลนด์กับสหรัฐฯเมื่อเดือนสิงหาคม ปี 2551 การที่สหรัฐฯจัดตั้งจรวดแพทริออตในโปแลนด์ในระยะยาวเป็นส่วนหนึ่งในการปฏิบัติต่อคำมั่นสัญญาของสหรัฐฯ และหลังจากรัฐบาลของนายบารัค โอบามาขึ้นบริหารประเทศเป็นต้นมา ก็ได้ประกาศยกเลิกโครงการจัดตั้งระบบจรวดนำวิถีต่อต้านขีปนาวุธในยุโรปตะวันออกของรัฐบาลบุช ปรับเปลี่ยนเป็นผลักดันแผนการจัดการระบบจรวดนำวิถีต่อต้านขีปนาวุธในยุโรปที่มีหลายขั้นตอน มีความเฉพาะเจาะจงและมีประสิทธิภาพสูงขึ้น เมื่อเดือนธันวาคม ปี 2552 โปแลนด์กับสหรัฐฯได้ลงนามใน"ข้อตกลงว่าด้วยทหารสหรัฐฯประจำโปแลนด์" เพื่อขจัดอุปสรรคสุดท้ายในการส่งกองทหารสหรัฐฯ เข้าประจำโปแลนด์

จรวดแพทริออตรุ่นแรกของสหรัฐอเมริกาส่งถึงโปแลนด์อาจจะทำให้ความสัมพันธ์ระหว่างรัสเซียกับสหรัฐฯที่เริ่มผ่อนคลายลงเมื่อไม่นานมานี้ทวีความรุนแรงขึ้นอีก หลังจากรัฐบาลนายบารัค โอบามาขึ้นบริหารประเทศเป็นต้นมาก็ได้ประกาศเริ่มฟื้นฟูความสัมพันธ์ระหว่างสหรัฐฯกับรัสเซีย และยอมถอนอีกก้าวให้รัสเซียในเรื่องระบบจรวดนำวิถีต่อต้านขีปนาวุธในยุโรปตะวันออกกลางและการลดอาวุธนิวเคลียร์ ทำให้ความสัมพันธ์ระหว่างสองประเทศดีขึ้น นอกจากนี้ยังได้ลงนามใน"สนธิสัญญาว่าด้วยการลดและจำกัดอาวุธร้ายแรง"เมื่อเดือนเมษายนนี้ สำหรับปัญหาระบบจรวดนำวิถีต่อต้านขีปนาวุธ รัสเซียเสนอให้ร่วมมือกับนาโต้ ร่วมกันจัดตั้งระบบนี้ นางฮิลลารี คลินตัน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ กับนายโรเบิร์ต เกตส์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมสหรัฐฯ กล่าวเมื่อวันที่ 18 พฤษภาคมนี้ว่า สหรัฐฯจะจัดการและปรับปรุงระบบจรวดนำวิถีต่อต้านขีปนาวุธอย่างต่อเนื่อง และไม่ถูกจำกัดเงื่อนไขจากสนธิสัญญาว่าด้วยการลดและจำกัดอาวุธร้ายแรงที่ลงนามกับรัสเซีย
 

ขอแนะนำให้คุณอ่าน

ช่องแนะนำ

ด้านบน คิดเห็น