วันที่ 6 มิถุนายนที่ผ่านมา จีนได้ประกาศ "เค้าโครงแผนพัฒนาบุคลากรที่มีศักยภาพในระยะกลางและระยะยาวแห่งชาติ" ฉบับแรก โดยกำหนดเป้าหมายว่า จนถึงปี 2020 จีนจะต้องเข้าอยู่ในบัญชีรายชื่อประเทศซึ่งมีบุคลากรที่มีศักยภาพของโลก ผู้เชี่ยวชาญที่เกี่ยวข้องกล่าวว่า การกำหนดและการปฏิบัติตามเค้าโครงแผนพัฒนาดังกล่าว จะมีบทบาทสำคัญต่อยุทธศาสตร์การพัฒนาประเทศด้วยบุคลากรที่มีศักยภาพ
เค้าโครงดังกล่าวระบุว่า จนถึงปี 2020 จำนวนบุคลากรที่มีศักยภาพของจีนต้องเพิ่มจาก 114 ล้านคนในปัจจุบันให้เป็น 180 ล้านคน สัดส่วนของประชากรผู้ใช้แรงงานที่เึคยได้รับการศึกษาในสถาบันชั้นสูงต้องเพิ่มขึ้นจาก 10% เป็น 20% ยอดการลงทุนด้านการอบรมบุคลากรที่มีศักยภาพจะเป็นสัดส่วน 15% ของยอดจีดีพีทั่วประเทศ ขณะเดียวกัน จะอบรมบุคลากรที่มีศักยภาพระดับสูงด้านการผลิตอุปกรณ์ สารสนเทศ เทคโนโลยีทางชีวภาพ การบินพลเรือนและการบินอวกาศ เป็นต้น
นายหยาง เหว่ยหมิง รองเลขาธิการคณะกรรมการการพัฒนาและปฏิรูปแห่งชาติจีนกล่าวว่า เป้าหมายดังกล่าวแสดงให้เห็นว่า รัฐบาลจีนเริ่มจัดวางการพัฒนาบุคลากรที่มีศักยภาพให้อยู่ในฐานะภารกิจที่โดดเด่นของการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม
"วิกฤตการเงินโลกครั้งนี้แสดงให้ถึงผลกระทบที่มีต่ออัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจของจีน อันที่จริงสามารถกล่าวได้ว่า เป็นผลกระทบต่อรูปแบบการพัฒนาเศรษฐกิจของจีน ดังนั้น การปรับเปลี่ยนรูปแบบการพัฒนาเศรษฐกิจ จำต้องสร้างนวัตกรรมด้วยตนเอง อบรมบุคลากรให้มีศักยภาพจำนวนมากขึ้น และใช้ประโยชย์ของบุคลากรเหล่านี้อย่างเหามะสม อีกทั้งเป็นความต้องการที่จะครองความเป็นสุดยอดด้านยุทธศาสตร์การพัฒนาของโลกในอนาคต ปัจจุบัน เศรษฐกิจจีนมีขนาดใหญ่เป็นอันดับที่ 3 ของโลก แต่ยังไม่เข้มแข้งพอ เพราะหลายสิ่งหลายอย่างยังคงล้าหลังอยู่เมื่อเทียบกับประเทศพัฒนา เรานำเข้าและศึกษาเรียนรู้เทคโนโลยีจากต่างประเทศ แต่ก็จะต้องมีเทคโนโลยีที่เป็นทรัพย์สินทางปัญญาของตนเอง รวมถึงระบบและกลไกที่ทันสมัยด้วย ขณะเดียวกัน สิ่งนี้ยังมีส่วนช่วยเพิ่มโอกาสการมีงานทำ และปรับปรุงโครงสร้างการผลิตให้ดีขึ้น"
เมื่อพิจารณาจากสภาพปัจจุบันของจีน การบรรลุเป้าหมายการพัฒนาบุคลากรของจีนปี 2020 นั้นไม่ใช่เรื่องง่ายเลย ดังนั้น เค้าโครงดังกล่าวจึงได้กำหนดเป้าหมายสำคัญของการพัฒนากลุ่มบุคลากรที่มีศักยภาพอย่างชัดเจนว่า หนึ่ง ต้องอบรมบุคลากรด้านเทคโนโลยีให้มีความสามารถในการสร้างนวัตกรรมใหม่ ๆ พยายามอบรมนักวิทยาศาสตร์ วิศวกรและทีมงานสร้างนวัตกรรมระดับโลก สอง อบรมบุคลากรที่มีความสามารถในด้านสำคัญของการพัฒนาเศรษฐกิจประชาชาติและสังคมที่ยังขาดแคลนและต้องการอย่างเร่งด่วน สาม เร่งอบรมบุคลากรด้านการบริหารวิสาหกิจ และบุคลากรที่มีความสามารถในด้านต่าง ๆ จำนวน 100 ล้านคน
สิ่งที่น่าสนใจก็คือ เค้าโครงดังกล่าวยังเน้นว่า จีนจะพยายามดึงดูดบุคลากรชาวต่างชาติหรือชาวจีนในต่างประเทศที่มีศักยภาพระดับสูงให้มาก่อร่างสร้างตัวและพัฒนาธุรกิจของตนในจีน นายหวังเย่าฮุย รองนายกสมาคมนักศึกษายุโรปและสหรัฐอเมริกาเชื้อสายจีนกล่าวว่า
"เค้าโครงดังกล่าวได้เสนอนโยบายพิเศษส่วนหนึ่ง อาทิ การจัดตั้งศูนย์สร้างนวัตกรรมและการสร้างธุรกิจส่วนตัวเพื่อดึงดูดบุคลากรชาวต่างชาติหรือชาวจีนในต่างประเทศที่มีศักยภาพระดับสูง การสร้างระบบการจ้างผู้เชี่ยวชาญต่างประเทศ เป็นต้น"
เค้าโครงดังกล่าวระบุ รัฐบาลกลางจะดำเนิน "โครงการหนึ่งพันคน" โดยในช่วงระยะ 5- 10 ปีข้างหน้า จะชักชวนบุคลากรที่มีศักยภาพระดับสูงในต่างประเทศจำนวน 2,000 คนให้มาทำงานในจีน
- กระบวนการตรวจสอบคดีปล้นฆ่าในแม่น้ำโขง
- จีนกำลังจัดตั้งคณะทูตประจำอาเซียน
- เปิดอบรมภาษาและวัฒนธรรมให้ครูสอนภาษาจีนของประเทศอาเซียนที่กรุงปักกิ่ง
- ธนาคารแห่งประเทศไทยเตรียมลงทุนสกุลเงินหยวน
- จีนปริทรรศน์: สถาปนิกจีนคว้ารางวัลพริตซ์เกอร์ โนเบลแห่งโลกสถาปัตยกรรม
- แรงขับเคลื่อนการเติบโตทางการค้าระหว่างจีนกับอาเซียน 4 ประการ
- ใบรับรองแหล่งผลิตต้นกำเนิดระหว่างจีนและอาเซียนผลักดันการค้าต่างประเทศของกวางสี
- ศูนย์จีน – อาเซียนจะส่งเสริมความเข้าใจระหว่างประชาชน
- ตำรวจฝรั่งเศสล้อมจับผู้ต้องสงสัยก่อเหตุยิงต่อเนื่อง
- เกิดเหตุยิงกราดหน้าโรงเรียนยิว ทางภาคใต้ฝรั่งเศส
วิดีโอยอดนิยม
ช่องแนะนำ
ด้านบน คิดเห็น
- ภารกิจการขนส่งมนุษย์ของสถานีอวกาศของจีนสร้างสถิติอย่างต่อเนื่อง
- แถลงการณ์คณะกรรมการจัดงานพิธีศพสหายเจียงเจ๋อหมิน ฉบับที่ 2
- ทั่วประเทศจีนไว้อาลัยการจากไปของสหายเจียงเจ๋อหมิน
- จีนคงความสามารถด้านโลจิสติกส์
- คณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติจัดพิธีไว้อาลัยการถึงแก่อสัญกรรมของเจียงเจ๋อหมิน
- เมืองและพื้นที่ 36 แห่งของจีนริเริ่มระบบบำนาญส่วนบุคคล
- FAW Toyota ผลิตรถยนต์คันที่ 10 ล้านในเทียนจิน
- ผู้นำและหัวหน้าองค์กรระหว่างประเทศต่างๆร่วมแสดงความเสียใจการถึงแก่อสัญกรรมของเจียงเจ๋อหมิน
- รองนายกฯ จีนเน้น ปรับปรุงมาตรการป้องกันควบคุมโรคระบาดให้ดีขึ้นอย่างต่อเนื่อง
- ผลไม้อาเซียนได้รับความนิยมในประเทศจีน