การประชุมเอเชียตะวันออกฟอรั่มเศรษฐกิจโลกเรียกร้องเสริมบทบาทนำของเศรษฐกิจเอเชีย
 การเผยแพร่:2010-06-10 18:20:07   ดูความถี่:0 แหล่ง:CRI

ในระหว่างวันที่ 6-7 มิถุนายนนี้ การประชุมเอเชียตะวันออกฟอรั่มเศรษฐกิจโลกครั้งที่ 19 ได้จัดขึ้นในเมืองโฮจิมินห์ของเวียดนาม เจ้าหน้าที่รัฐบาล บุคคลในวงการอุตสาหกรรมและการค้า ผู้เชี่ยวชาญและนักวิชาการจากองค์กรเศรษฐกิจทั่วโลกประมาณ 50 แห่งจำนวนกว่า 400 คนจะร่วมปรึกษาหารือเกี่ยวกับประเด็น "ทบทวนบทบาทนำของเอเชีย" ซึ่งที่ประชุมเรียกร้องให้เสริมบทบาทนำของเอเชียในเศรษฐกิจโลกให้มากยิ่งขึ้น

นายเหงียน ตัน ดุง นายกรัฐมนตรีเวียดนาม นายบัวสอน บุปผาวันนายกรัฐมนตรีลาว สมเด็จฮุนเซ็น นายกรัฐมนตรีกัมพูชา พลเอกเทียน เส่ง นายกรัฐมนตรีพม่า และนางหวัง จื้อเจิน รองประธานสภาที่ปรึกษาการเมืองแห่งชาติจีนเข้าร่วมพิธีเปิดการประชุมครั้งนี้

นายเหงียน ตัน ดุงกล่าวคำปราศรัยว่า หลังจากเกิดวิกฤตการเงินโลก ความสมดุลของเศรษฐกิจโลกเกิดการเปลี่ยนแปลง ภูมิภาคเอเชียตะวันออกได้กลายเป็นแรงขับเคลื่อนที่สำคัญในการฟื้นฟูเศรษฐกิจโลก เอเชียตะวันออกยินดีจะแสดงบทบาทเพื่อจัดตั้งระเบียนสากลแบบใหม่ที่มีประสิทธิผลและเป็นประชาธิปไตยมากยิ่งขึ้น

นายเหงียน ตัน ดุงชี้ให้เห็นว่า ปัจจุบัน ประเทศต่างๆๆในเอเชียตะวันออกก็กำลังเผชิญกับการท้าทายมากมาย เอเชียตะวันออกควรยกคุณภาพการบริหารให้สูงขึ้น เปลี่ยนรูปแบบการพัฒนาทางเศรษฐกิจ เพื่อทำให้การเติบโตอย่างรวดเร็ว สมดุลและยั่งยืนเป็นจริง

ผลการสำรวจยูเอสแคปเมื่อเดือนที่แล้วระบุว่า เนื่องจากประเทศส่วนใหญ่ในเอเชียได้ใช้แผนกระตุ้นเศรษฐกิจ ดังนั้น ถึงแม้วิกฤตการเงินโลกมีความรุนแรงมาก แต่เศรษฐกิจของภูมิภาคเอเชียก็ยังคงมีการพัฒนาที่รวดเร็วที่สุดในโลก

นางหวัง จื้อเจินชี้ให้เห็นว่า เอเชียเป็นแรงขับเคลื่อนที่สำคัญในการพัฒนาของเศรษฐกิจโลก มีบทบาทและอิทธิพลนับวันมากยิ่งขึ้นในสถานการณ์โลก นางหวัง จื้อเจินกล่าวว่า จีนประกาศใช้และปรับปรุงนโยบายและมาตรการต่างๆอย่างต่อเนื่องเพื่อรับมือกับวิกฤตการเงินโลก โดยได้อุทิศกำลังของตนในการส่งเสริมการพัฒนาเศรษฐกิจเอเชีย และรักษาเสถียรภาพของเศรษฐกิจโลกไว้

รายงานฉบับดังกล่าวคาดว่า ในปี 2010 เศรษฐกิจจีนจะเติบโตขึ้น 9.5% ซึ่งเป็นผลจากแผนกระตุ้นเศรษฐกิจของจีนเป็นหลัก ขณะเดียวกัน การเติบโตของเศรษฐกิจจีนจะเป็นผู้นำการฟื้นตัวของเศรษฐกิจเอเชีย

สมเด็จฮุนเซ็นเห็นว่า จนถึงปัจจุบัน การลงทุนภาคเอกชนยังไม่เป็นแรงขับเคลื่อนที่สำคัญในการเติบโตของเศรษฐกิจ คนยากจนยังไม่พ้นจากความยากลำบาก เขากล่าวว่า ความเจริญก้าวหน้านของจีนและอินเดียไม่ควรถูกมองว่าเป็นการท้าทายต่อกำลังการแข่งขันของประเทศอื่นๆในเอเชีย

นายบัวสอนกล่าวว่า ประเทศต่างๆในเอเชียหลายประเทศได้รับบทเรียนจากวิกฤตการเงินเอเชียที่เกิดขึ้นเมื่อปี 1997 และจากจุดนั้นก้าวสู่หนทางการพัฒนาที่ยั่งยืน เขาเชื่อว่า ด้วยความพยายามของประเทศต่างๆและความร่วมมือภายในภูมิภาค เอเชียสามารถบรรลุเป้าหมายการเติบโตทางเศรษฐกิจและการพัฒนาอย่างยั่งยืน

ตามกำหนดการของการประชุมเอเชียตะวันออกฟอรั่มเศรษฐกิจโลกครั้งนี้ ผู้เข้าร่วมการประชุมจะพิจารณาบทบาทของเอเชียในเศรษฐกิจโลกอีกครั้งด้วยการปรึกษาหารือและการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นซึ่งกันและกัน โดยจะอภิปรายปัญหาต่างๆ รวมถึงการแสดงบทบาทที่สำคัญยิ่งขึ้นของเอเชียในกระบวนการโลกาภิวัตน์ เพิ่มความสามารถของเอเชียตะวันออกในการป้องกันความเสี่ยงทางการเงิน ผลักดันความร่วมมือในอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง และแสวงหาการเติบโตของเศรษฐกิจสีเขียวให้ปรากฏเป็นจริง

 

ขอแนะนำให้คุณอ่าน

ช่องแนะนำ

ด้านบน คิดเห็น