สมาคมการค้าและอุตสาหกรรมควรรับบทสําคัญในการเพิ่มการแลกเปลี่ยนกับหอการค้าอาเซี่ยน
 การเผยแพร่:2010-11-25 17:33:31   ดูความถี่:0 แหล่ง:cri
   เมื่อเขตการค้าเสรีจีน-อาเซียนเปิดขึ้นอย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 1 มกราคมปี 2010 เป็นต้นมา ตลาดขนาดใหญ่ที่ครอบคลุมพื้นที่ 11 ประเทศได้เปิดโอกาสทางการค้าที่น่าดึงดูดใจยิ่ง

เมื่อเขตการค้าเสรีจีน-อาเซียนเปิดขึ้นอย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 1 มกราคมปี 2010 เป็นต้นมา ตลาดขนาดใหญ่ที่ครอบคลุมพื้นที่ 11 ประเทศได้เปิดโอกาสทางการค้าที่น่าดึงดูดใจยิ่ง

ตามข้อกําหนดของ"ข้อตกลงทางการค้า"ดังกล่าว ผลิตภัณฑ์สินค้าและการบริการของจีนจะเข้าตลาดประเทศอาเซี่ยนได้อย่างราบรื่นภายใต้สภาพภาษีเป็นศูนย์ ไม่ต้องมีโควตาและเงื่อนไขการอนุมัติให้เข้าตลาดได้รับการปรับปรุงให้ดีขึ้น สภาพเช่นนี้ย่อมเป็นผลดีต่อการขยายการส่งออกไปยัง 10 ประเทศอาเซี่ยนของวิสาหกิจจีน ลดต้นทุนของวัตถุดิบ ชิ้นส่วนและอุปกรณ์ที่นําเข้ามาจากอาเซี่ยน ดึงดูดการลงทุนจากอาเซี่ยน และการเปิดพื้นที่พัฒนาใหม่ๆในเอเซียอาคเนย์

สิ่งที่น่าสังเกตก็คือ การที่จีนกับอาเซี่ยนสร้างเขตการค้าเสรีนั้น ไม่ว่าจะเป็นการเสนอ การทําความเข้าใจ การเจรจาหรือการลงนามในข้อตกลง ที่สําคัญยังเป็นพฤติกรรมระหว่างรัฐบาลกับรัฐบาล ส่วนสมาคมการค้าและอุตสาหกรรมบางแห่งของประเทศอาเซี่ยนกลับไม่ได้เห็นด้วยอย่างเต็มที่เนื่องจากคํานึงถึงผลประโยชน์ส่วนตัว ด้วยเหตุนี้ การเพิ่มการติดต่อ การแลกเปลี่ยนและความร่วมมือระหว่างสมาคมการค้าและอุตสาหกรรมต่าง ๆ ของประเทศทั้งหลาย จึงเป็นเรื่องที่จําเป็นอย่างยิ่ง

นักเศรษฐศาสตร์บางคนเห็นว่า การสร้างเขตการค้าเสรีระหว่างจีน-อาเซี่ยนย่อมจะนํามาซึ่งการปรับโครงสร้างอุตสาหกรรมของ 11 ประเทศในภูมิภาค และนํามาซึ่งการปรับผลประโยชน์ของฝ่ายต่างๆที่เกี่ยวข้องด้วย สมาคมการค้าและอุตสาหกรรมในฐานะเป็นตัวแทนผลประโยชน์ของอุตสาหกรรมสาขาต่างๆ มีความจําเป็นต้องแสดงบทบาทในการส่งเสริมความร่วมมือและการแลกเปลี่ยน ลดความสูญเสียอันเนื่องจากการปรับตัวครั้งนี้ และเพิ่มความสามารถในการแข่งขันของภูมิภาคโดยรวมด้วย

นายหยาง เสี่ยวจิงรองเลขาธิการสมาคมเครื่องจักรอุปกรณ์ตัดเย็บเสื้อผ้าของจีนเห็นว่า ประเทศอาเซี่ยนมีประชากรมากมาย มีความต้องการเสื้อผ้าสิ่งทอเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง นับเป็นโอกาสอันดีให้กับการเติบโตของการส่งออกผลิตภัณฑ์เสื้อผ้าสิ่งทอของจีน ขณะเดียวกัน เมื่อกิจการเสื้อผ้าสิ่งทอพัฒนาไป ก็จะเพิ่มตลาดให้กับการส่งออกของเครื่องจักรและอุปกรณ์ตัดเย็บเสื้อผ้าของจีนเช่นกัน

นายหยาง เสี่ยวจิงกล่าวว่า เนื่องจากอุตสาหกรรมตัดเย็บเสื้อผ้าของโลกมีลักษณะเคลื่อนย้ายตัวแบบขั้นบันได แม้ว่าปัจจุบันประเทศจีนจะเป็นประเทศผลิตอุปกรณ์ตัดเย็บเสื้อผ้าใหญ่ที่สุดของโลกก็ตาม แต่เนื่องจากต้นทุนของแรงงานได้เพิ่มขึ้นและเป็นอุตสาหกรรมที่ต้องใช้ทรัพยากรแรงงานหนาแน่น ในอนาคต อุตสาหกรรมเครื่องจักรอุปกรณ์ตัดเย็บเสื้อผ้ามีความเป็นไปได้ที่จะเคลื่อนย้ายไปสู่ประเทศอาเซี่ยนที่มีทรัพยากรแรงงานมาก และมีค่าแรงค่อนข้างตํ่า ด้วยแนวโน้มเช่นนี้ วิสาหกิจบางแห่งของจีนจึงได้ลงทุนสร้างโรงงานหรือแสวงหาการร่วมทุนร่วมมือในประเทศอาเซี่ยน

ประเทศอาเซี่ยนบางประเทศเสนอว่า ระหว่างการสร้างเขตการค้าเสรีจีน-อาเซี่ยน สมาคมการค้าและอุตสาหกรรมต่างๆของจีนกับของประเทศต่าง ๆ ในเอเซียอาคเนย์ควรสร้างความร่วมมือที่กว้างขวางใกล้ชิดและระยะยาว ควรเสนอข่าวสารพาณิชย์แก่วิสาหกิจอย่างสมํ่าเสมอและทันเวลา และให้การบริการในฐานะเป็นตัวกลางแก่วิสาหกิจต่างๆ เปิดลู่ทางการค้าให้กับวิสาหกิจต่างๆ พร้อมกันนี้ ก็จะได้สะท้อนปัญหาและเสนอข้อเสนอต่างๆเกี่ยวกับความร่วมมือทางเศรษฐกิจและการค้าแก่หน่วยงานรัฐบาล เป็นผู้ช่วยและผู้ปรึกษาดีให้กับรัฐบาล

นายสู่ หนินหนินกรรมการฝ่ายจีนของคณะกรรมกาการค้าระหว่างจีน-อาเซี่ยนกล่าวว่า "หน่วยงานที่เกี่ยวข้องของรัฐบาลจีนมีความจําเป็นต้องประกาศเอกสารที่มีลักษณะชี้นําฉบับหนึ่ง โดยมีเนื้อหาสําคัญครอบคลุมถึง หนึ่ง ข้อเรียกร้องต่อหน่วยงานที่เกี่ยวข้องของจีนโดยเฉพาะหน่วยงานรับผิดชอบในการสร้างเขตการค้าเสรี ซึ่งรวมถึงการเสริมสร้างการชี้นําและการให้บริการ สอง ข้อเสนอการดําเนินงานของสมาคมการค้าและอุตสาหกรรมในการสร้างเขตการค้าเสรี ซึ่งรวมถึงการเพิ่มความร่วมมือกับสมาคมของประเทศอาเซี่ยน สาม ข้อเสนอเกี่ยวกับการประกอบกิจการของวิสาหกิจในการสร้างเขตการค้าเสรี ซึ่งรวมการบุกเบิกพัฒนาตลาดเอเซียอาคเนย์อย่างมีประสิทธิผล ยกประสิทธิภาพในการลงทุนในเอเซียอาคเนย์ "

ขอแนะนำให้คุณอ่าน

ช่องแนะนำ

ด้านบน คิดเห็น