จีนกับอาเซียนมีลักษณะเสริมซึ่ีงกันและกันทางเศรษฐกิจ
 การเผยแพร่:2010-12-02 16:50:31   ดูความถี่:0 แหล่ง:cri

เนื่องจากภายในเขตการค้าเสรีจีน-อาเซียนจะมีอัตราภาษีเป็นศูนย์ในปี 2015 ถึงเวลานั้น เขตการค้าเสรีจีน-อาเซียนที่ประกอบด้วยจีนและ 10 ประเทศของอาเซียนซึ่งมีประชากร 1,800 ล้านและผลิตภัณฑ์มวลรวมประชาชาติมีมูลค่ามากกว่า24 ล้านล้านดอลล่าร์สหรัฐ จะกลายเป็นเขตการค้าเสรีใหญ่อันดับสามของโลกต่อจากสหภาพยุโรปและเขตการค้าเสรีอเมริกาเหนือ

เขตการค้าเสรีจีน-อาเซียนเป็นเขตการค้าเอกภาพที่อาศัยการให้สิทธิพิเศษทางศุลกากร ก่อให้เกิดการหมุนเวียนอย่างเสรีของสินค้า คล้ายกับตลาดเอกภาพของยุโรปในปัจจุบัน วิเคราะห์จากหลักเศรษฐศาสตร์ การสร้างเขตการค้าเสรีจีน-อาเซียนจะทําให้ยอดมูลค่าการค้าของกลุ่มเศรษฐกิจทั้งสองแห่งนี้เพิ่มขึ้นจาก 105,800 ล้านดอลล่าร์สหรัฐในปี 2004 เป็น 250,000 ล้านดอลล่าร์สหรัฐในปี 2010 ทําให้อาเซียนเลื่อนจากคู่ค้าอันดับ 4 ของจีนในปัจจุบันกลายเป็นคู่ค้าอันดับ 2 ของจีน การเกิดเขตการค้าเสรีย่อมจะส่งเสริมให้จีนกับอาเซียนบรรลุข้อตกลงในด้านการค้าด้านการบริการ การให้ความสะดวกในการลงทุนและการแก้ไขข้อพิพาทเป็นต้น ทั้งหมดเหล่านี้แสดงให้เห็นว่า เนื้่อหาทางเศรษฐกิจและขนาดการเปิดตลาดของเขตการค้าเสรีล้วนกว้างขวางกว่าขอบเขตขององค์การการค้าโลก

พิจารณาจากด้านการเมือง การสร้างเขตการค้าเสรีจีน-อาเซียนเป็นตัวอย่างดีที่สุดสําหรับการบุกเบิกพัฒนาความร่วมมือของประเทศกําลังพัฒนาทั้งหลาย ผู้นําจีนและอาเซียนเสนอแนวคิดเกี่ยวกับเขตการค้าเสรีด้วยสายตาที่มองการณ์ไกล กล่าวได้ว่าเป็นการพิจารณาอย่างรอบคอบทางยุทธศาสตร์ ประการที่หนึ่ง เป็นรูปแบบในการสร้างความร่วมมือของภูมิภาค เพื่อจัดสรรปัจจัยแรงงานและทรัพยากรให้เกิดประโยชน์สูงสุดสําหรับประเทศที่เข้าร่วม ประการที่สอง เป็นผลดีต่อความเป็นมิตรระหว่างประเทศเพื่อนบ้าน และการแก้ไขข้อพิพาท ได้รับผลประโยชน์ทั้งสองฝ่าย ประการที่สาม เป็นผลดีต่อการยกระดับการพัฒนาทางเศรษฐกิจของทั่วภูมิภาค เพื่อจะได้เข้าร่วมการแข่งขันทางเศรษฐกิจทั่วโลกได้ดียิ่งขึ้น

ปัจจุบัน การเติบโตทางเศรษฐกิจของจีนต้องประสบอุปสรรคที่ต้องขาดแคลนพลังงาน ประเทศจีนมีพื้นที่กว้างใหญ่ แต่ทรัพยากรพลังงานไม่อุดม ประเทศอาเซียนพื้นที่ไม่กว้างมาก แต่มีทรัพยากรพลังงานอุดมสมบูรณ์ มาเลเซียและอินโดนีเซียเป็นแหล่งผลิตนํ้ามันปิโตรเลียมและแก๊สธรรมชาติ ปริมาณสํารองของโลหะที่ไม่ใช่เหล็กเช่นแหล่งแร่ทองแดงและอลูมิเนียมเป็นต้นมีมากมาย จีนมีแต่มณฑลยูนานและไหหลําที่ผลิตยางพาราได้ แต่ไทย เวียดนามและอินโดนีเซียของอาเซียนล้วนผลิตยางพาราได้มากมาย จากการเปรียบเทียบผลิตภัณฑ์เหล่านี้แสดงให้เห็นว่า ความร่วมมือระหว่างสองฝ่ายมีลักษณะเสริมซึ่งกันและกันได้อย่างดี นอกจากนี้ อุตสาหกรรมปิโตรเคมีของประเทศอาเซียนยังค่อนข้างล้าหลัง แม้ว่าจะผลิตนํ้ามันปาล์มได้ปริมาณมาก แต่เทคโนโลยีในการแปรรูปนํ้ามันปาล์มตลอดจนการใช้ผลิตภัณฑ์ผลพลอยได้ ยังไม่ก้าวหน้าเท่ากับจีน ปัจจัยเหล่านี้ได้เปิดโอกาสให้แก่การร่วมมือที่มีลักษณะเสริมซึ่งกันและกัน จีนกับประเทศอาเซียนมีลักษณะเสริมซึ่งกันและกันทางเศรษฐกิจและการค้าได้มากมายทั้งในด้านเกษตรกรรม ปิีโตรเคมี อุตสาหกรรมเบา เครื่องใช้ไฟฟ้า เครื่องจักรการเกษตร กิจการสิ่งทอตลอดจนแหล่งแร่ธรณีเป็นต้น

 

ขอแนะนำให้คุณอ่าน

ช่องแนะนำ

ด้านบน คิดเห็น