สถานีวิทยุซีอาร์ไอรายงานว่า จีนเป็นคู่ค้าใหญ่อันดับแรกของอาเซียนติดต่อกันมาเป็นเวลา 4 ปี ขณะที่อาเซียนเป็นคู่ค้าใหญ่อันดับ 3 ของจีน และยังเป็นตลาดส่งออกสินค้าอันดับ 4 และแหล่งนำเข้าสินค้าใหญ่อันดับ 2 ของจีนด้วย
ครึ่งแรกปี 2013 ยอดมูลค่าการค้าต่างประเทศของจีนเติบโตร้อยละ 8.6 โดยมูลค่าการค้าทวิภาคีจีน-อาเซียนสูงถึง 210,560 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 12.2 เมื่อเทียบกับระยะเดียวกันของปีที่แล้ว สูงกว่าอัตราเติบโตโดยเฉลี่ยของการค้าต่างประเทศจีนซึ่งอยู่ที่ร้อยละ 3.6
นายทาง จือหมิ่น ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยจีน-อาเซียน สถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์ (Panyapiwat Institute of Management)ของไทย วิเคราะห์ว่า มีสาเหตุ 4 ประการที่ทำให้การค้าทวิภาคีจีน-อาเซียนเติบโตขึ้นอย่างรวดเร็ว คือประการแรก หลังเขตการค้าเสรีจีน-อาเซียนจัดตั้งขึ้นเมื่อปี 2010 ทั้งสองฝ่ายได้ลดกำแพงภาษีลง ยกระดับความร่วมมือทั้งด้านการขนส่งและโทรคมนาคมให้มากขึ้น
ประการที่ 2 ปัจจุบัน จีนอยู่ระหว่าง ย้ายฐานการผลิตสินค้าที่ส่งออกไปยังยุโรปและสหรัฐฯบางส่วนไปยังประเทศอาเซียน ทำให้รูปแบบการพัฒนาเศรษฐกิจเดิม ซึ่งจีนผลิตแล้วส่งออกไปยังยุโรปและสหรัฐฯนั้นเปลี่ยนเป็นให้ประเทศอาเซียนเป็นผู้ผลิตสินค้าบางอย่างแทน แล้วส่งกลับมายังจีนเพื่อแปรรูปสินค้าเหล่านั้น ก่อนส่งออกไปยังยุโรปและสหรัฐ ทั้งนี้ทำให้ยอดมูลค่าการค้าทวิภาคีจีน-อาเซียนเพิ่มขึ้นอย่างมาก
ประการที่ 3 จีนต้องการวัตถุดิบจากประเทศในอาเซียนเพิ่มขึ้น เพราะเศรษฐกิจจีนเติบโตขึ้นอย่างต่อเนื่อง และประการสุดท้าย ทั้งสองฝ่ายต่างต้องการนำเข้าสินค้าจากอีกฝ่ายหนึ่งมากขึ้น เนื่องจากได้พัฒนาและยกระดับทักษะและกระบวนการผลิตให้สูงขึ้น
ทั้งจีนและอาเซียนต่างมีความได้เปรียบในการพัฒนาเศรษฐกิจการค้า และมีความแตกต่างทางด้านทรัพยากรธรรมชาติ ทักษะการผลิต รวมทั้งโครงสร้างอุตสาหกรรม ด้วยสาเหตุเหล่านี้ การค้าระหว่างทั้งสองฝ่ายจึงมีส่วนเกื้อกูลกันอย่างมาก เช่น สิงคโปร์ และไทยต้องการบุกตลาดจีนมากขึ้น มาเลเซีย อินโดนีเซียต้องการมาลงทุนในจีนเพิ่มขึ้น กัมพูชา และลาวต้องการเงินทุน และเทคโนโลยีจากจีนอย่างต่อเนื่อง ส่วนจีนต้องการส่งออกสินค้าหลายประเภทไปยังตลาดอาเซียน เช่นผลิตผลการเกษตร ปุ๋ยเคมี สิ่งทอ วัสดุก่อสร้าง เครื่องจักรกล และอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ ดังนั้น เมื่อมองในภาพรวม การค้า การลงทุนระหว่างจีน-อาเซียนจะมีอนาคตที่แจ่มใส
นายสีว์ เกินหลัว ผู้จัดการบริษัทบุกเบิกพัฒนานิคมอุตสาหกรรมไทย-จีนในจังหวัดระยองแสดงความเห็นว่า ทั้งจีนและประเทศอาเซียนมีส่วนเกื้อกูลกันมากในการพัฒนาเศรษฐกิจและการค้า เช่น ประเทศอาเซียนเป็นแหล่งผลิตผลไม้และยางพารา ส่วนจีนต้องการนำเข้าผลไม้และยางพาราจำนวนมหาศาล บริษัทจีนพากันไปลงทุนในประเทศอาเซียน อีกทั้งย้ายฐานการผลิตอุปกรณ์บางอย่างไปผลิตในประเทศอาเซียนได้โดยตรง แทนที่จะส่งออกไปจากจีนเหมือนในอดีต
(NUNE/cai)
- เวียดนามกำหนดเป้าหมายการเติบโตของเศรษฐกิจในปี 2018
- จีน – พม่าหารือความร่วมมือทางการค้า
- เศรฐกิจสิงคโปร์เติบโตขึ้น 0.6% ในไตรมาสที่ 3
- นายกรัฐมนตรีมาเลเซียชี้ แผนปฏิรูปเศรษฐกิจได้รับผลคืบหน้าในขั้นต้น
- ความร่วมมือจีน-ลาวช่วยให้เศรษฐกิจลาวพัฒนาเร็วขึ้น
- กระทรวงการคลังสปป.ลาวประกาศข้อตกลงเกี่ยวกับการเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มสินค้าเข้าแดนร้อยละ 10
- โรงงานผลิตปูนซีเมนต์ที่บริษัทจีนลงทุนสร้างในอินโดนีเซียเปิดเดินสายการผลิต
- ประธานคณะกรรมการประสานการลงทุนของอินโดนีเซียคนใหม่ระบุ ข้อเสนอ "หนึ่งแถบหนึ่งเส้นทาง" สำคัญต่อการบริหารจัดการเศรษฐกิจโลก
- นายกรัฐมนตรีมาเลเซียระบุ เศรษฐกิจยังคงมีแรงเติบโต
- รัฐบาลพม่าดำเนินนโยบายเศรษฐกิจใหม่
วิดีโอยอดนิยม
ช่องแนะนำ
ด้านบน คิดเห็น
- ภารกิจการขนส่งมนุษย์ของสถานีอวกาศของจีนสร้างสถิติอย่างต่อเนื่อง
- แถลงการณ์คณะกรรมการจัดงานพิธีศพสหายเจียงเจ๋อหมิน ฉบับที่ 2
- ทั่วประเทศจีนไว้อาลัยการจากไปของสหายเจียงเจ๋อหมิน
- จีนคงความสามารถด้านโลจิสติกส์
- คณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติจัดพิธีไว้อาลัยการถึงแก่อสัญกรรมของเจียงเจ๋อหมิน
- เมืองและพื้นที่ 36 แห่งของจีนริเริ่มระบบบำนาญส่วนบุคคล
- FAW Toyota ผลิตรถยนต์คันที่ 10 ล้านในเทียนจิน
- ผู้นำและหัวหน้าองค์กรระหว่างประเทศต่างๆร่วมแสดงความเสียใจการถึงแก่อสัญกรรมของเจียงเจ๋อหมิน
- รองนายกฯ จีนเน้น ปรับปรุงมาตรการป้องกันควบคุมโรคระบาดให้ดีขึ้นอย่างต่อเนื่อง
- ผลไม้อาเซียนได้รับความนิยมในประเทศจีน