ธุรกิจโลจิสติกส์ข้ามชาติเป็นแรงกระตุ้นใหม่ที่ทำให้เศรษฐกิจอาเซียนเติบโตต่อไป
 การเผยแพร่:2016-02-29 18:23:28   ดูความถี่:0 แหล่ง:CRI

หนังสือพิมพ์เหรินหมินรึเป้ารายงานว่า เมื่อสิ้นปี 2015 ที่ผ่านมา ได้มีการประกาศก่อตั้งประชาคมอาเซียนขึ้นอย่างเป็นทางการ ทำให้อาเซียนก้าวเข้าใกล้เป้าหมายที่จะเป็นตลาดเดียวกันมากขึ้น เพื่อให้สินค้า การบริการ การลงทุน ต้นทุนและแรงงานทางเทคโนโลยีในส่วนภูมิภาคเคลื่อนไหวอย่างเสรี ธุรกิจโลจิสติกส์ข้ามชาติจะแสดงบทบาทมากขึ้นอย่างเห็นได้ชัด

ไทยตั้งอยู่ในศูนย์กลางทางภูมิประเทศของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ จึงมีส่วนที่ได้เปรียบที่พัฒนากลายเป็นศูนย์กลางกระจายสินค้าของอาเซียน ขณะนี้ มูลค่าการผลิตของธุรกิจโลจิสติกส์ของไทยเป็นประมาณร้อยละ 15-17ของผลิตภัณฑ์มวลรวมการผลิตภายในประเทศ โดยเฉพาะช่วงปีหลังๆ มานี้ ธุรกิจอี-คอนเมิร์ชของไทยได้รับการพัฒนาอย่างรวดเร็ว นับเป็นแรงกระตุ้นการเติบโตของธุรกิจโลจิสติกส์

เนื่องจากการพัฒนามีแนวโน้มที่ดี ทำให้ธุรกิจโลจิสติกส์ของไทยนอกจากพัฒนาตลาดภายในประเทศแล้ว การไปรษณีย์ไทยยังร่วมมือกับบริษัทค้าปลีกทำการทดลองจำหน่ายสินค้าออนไลน์ และทำธุรกิจโลจิสติกส์ โดยนำสินค้าไทยไปจำหน่ายในกัมพูชา ลาวและเมียนมาร์ ดร.ศุภชัย พานิชภักดิ์ อดีตเลขาธิการคณะกรรมการการค้าและพัฒนาแห่งสหประชาชาติระบุว่า การให้เศรษฐกิจไทยมีการเติบโตไม่เพียงแต่ต้องอาศัยความต้องการภายในประเทศเท่านั้น หากยังต้องให้ความสำคัญกับตลาดกัมพูชา ลาว เมียนมาร์และเวียดนาม เป็นต้น ปีนี้ ธุรกิจค้าปลีกข้ามชาติจะกลายเป็นดาวรุ่งดวงหนึ่งในการพาณิชย์ของไทย

ขณะนี้ อาเซียนมีมาตรการการค้าที่ไม่ใช่ภาษีศุลกากร(Non-tariff Measures)มากมายหลายอย่าง จึงทำให้การส่งสินค้าล่าช้า และได้เพิ่มต้นทุนการค้าข้ามชาติในภูมิภาคนี้ มาตรการที่ไม่ใช่ภาษีศุลกากรประกอบด้วยการควบคุมบริหารชายแดนในประเภทที่ต่างกัน ความต้องการเข้าสู่ดินแดนพิเศษ มาตรฐานความปลอดภัย การควบคุมราคา ข้อจำกัดแหล่งผลิตเดิม ถึงแม้การค้าข้ามชาติระหว่างประเทศอาเซียนมีร้อยละ 95 มีสิทธิพิเศษในการปลอดภาษี แต่มาตรการที่ไม่ใช่ภาษีศุลกากรยังคงกลายเป็นการท้าทายต่อการค้าข้ามชาติระหว่างกัน

ขอแนะนำให้คุณอ่าน

ช่องแนะนำ

ด้านบน คิดเห็น