มาตลาด “ซินฟาตี้” ที่กรุงปักกิ่ง พบกับผลไม้นานาชาติ
 การเผยแพร่:2023-02-28 16:39:50   ดูความถี่:0 แหล่ง:CMG

\

เมื่อได้พูดถึง “ซินฟาตี้” ชาวปักกิ่งจะนึกถึงตลาดขายส่งผลิตผลการเกษตรทันที เพราะที่นี่เป็น “ตะกร้าผัก”และ “จานผลไม้” ขนาดยักษ์ของกรุงปักกิ่ง

\

\

ที่นี่มีกล้วยหอมที่มาจากประเทศลาวและกัมพูชา มีขนุนจากเวียดนาม มีสับปะรดจากฟิลิปปินส์ มีมันคุกจากอินโดนีเซีย ทุเรียนจากมาเลเซีย และลำไยจากประเทศไทย

\

\

\

ตลาดขายส่งผลิตผลการเกษตรซินฟาตี้ปักกิ่งเปิดดำเนินการเมื่อปี 1988 มีพื้นที่ 112.6 เฮกตาร์ มียอดการจำหน่ายและปริมาณค้าขายอยู่ในระดับชั้นนำของตลาดขายส่งผลิตผลการเกษตรกว่า 4,600 แห่งทั่วประเทศจีน เมื่อปี 2022 ที่ผ่านมา มีการจำหน่ายผลไม้นำเข้าจำนวน 8.751 แสนตัน ยอดการค้ามากถึง 21,927 ล้านหยวน (ราว 3,182 ล้านเหรียญสหรัฐฯ) รวม 35,000 ตู้สินค้า

การประกาศข้อตกลง RCEP ให้มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2022 ตลอดจนการเชื่อมโยงของทางรถไฟจีน-ลาว-ไทย ตลาดซินฟาตี้จึงจัดให้บริษัทตัวแทนจำหน่ายขนาดใหญ่ร่วมสร้างฐานปลูกที่เป็นแบบมาตรฐานประมาณ 20,000 เฮกตาร์ในประเทศไทย พม่า ลาว เวียดนาม กัมพูชา และฟิลิปปินส์ เพื่อผลิตกล้วยหอม ทุเรียน ลำใย มะม่วง แก้วมังกร และแตงโม ฯลฯ ขณะเดียวกันตลาดขายส่งแห่งนี้ยังได้ส่งผลิตผลการเกษตรคุณภาพสูงของจีนไปยังญี่ปุ่น เกาหลีใต้ ไทยและเวียดนาม ปัจจุบันมีผลไม้คุณภาพดีประมาณ 200 ชนิดจากกว่า 42 ประเทศและเขตแคว้นทั่วโลกจำหน่ายในตลาดซินฟาตี้ นำร่องตลาดบริโภคระดับสูง

ที่ตลาด เราได้พบกับเลมอนญี่ปุ่น แอปเปิ้ลนิวซีแลนด์ ส้มโออียิปต์ องุ่นเขียวจากเปรู ส้มหวานและท้อน้ำมันจากออสเตรเลีย สาลี่จากเนเธอร์แลนด์ เป็นต้น 

\

หลายปีมานี้ตลาดซินฟาตี้จัดให้ตัวแทนจำหน่ายผลไม้เดินทางไปประเทศไทย ฟิลิปปินส์ เวียดนาม พม่า อิสราเอล คาร์ซักสถาน ฝรั่งเศส เนเธอร์แลนด์ เป็นต้น ตามปลายทางของ “หนึ่งแถบหนึ่งเส้นทาง” เพื่อร่วมหารือการพัฒนาและความร่วมมือ จับมือกับประชาชนของประเทศเหล่านี้ ผลักดันให้มีการเปิดเผยและแลกเปลี่ยนกันมากยิ่งขึ้นและกว้างขวางยิ่งขึ้น ผสมผสานทรัพยากรและความต้องการการบริโภคของประเทศต่างๆ เข้าด้วยกัน กำหนดตารางเวลาและแผนที่จะนำเข้าส่งออกผลิตผลการเกษตรอย่างชัดเจน (Bo/Ping/Sun)

\


ขอแนะนำให้คุณอ่าน

ช่องแนะนำ

ด้านบน คิดเห็น