เรามีโชคชะตาต่อกัน แก้ปัญหาให้แก่โลกมนุษย์ร่วมกัน “ประชาคมที่มีอนาคตร่วมกัน”
 การเผยแพร่:2023-03-07 15:56:00   ดูความถี่:0 แหล่ง:CMG

\

“เพราะไม่มีใครอยู่ในโลกนี้ได้เพียงลำพัง เมื่อเผชิญสถานการณ์ปัญหาไม่ว่าจะ เศรษฐกิจ สงคราม หรือที่เร็วๆ นี้อย่างเรื่องโรคระบาดเชื้อไวรัสโควิด-19 ประเทศต่างๆ ทั่วทั่งโลกไม่อาจจะดำรงอยู่ได้ด้วยดีตามลำพังได้ ประชาคมที่มีอนาคตร่วมกัน จึงเป็นแนวคิดใหม่เกี่ยวกับสังคมแห่งมนุษยชาติ โดยรัฐบาลจีนที่นำโดยประธานาธิบดี สี จิ้นผิง ได้เน้นย้ำอย่างสม่ำเสมอ” รองศาสตราจารย์ ดร.สังศิต พิริยะรังสรรค์ สมาชิกวุฒิสภา(ส.ว.) และประธานคณะกรรมาธิการการแก้ปัญหาความยากจนและลดความเหลื่อมล้ำ ได้ขยายความเกริ่นนำ

“ทั้งหมดเพื่อรับมือความท้าทายทั่วโลก และรวมไปถึงการปฏิรูป การปรับปรุงระบบบริหารจัดการโลก ให้ดีให้สมบูรณ์ยิ่งๆ ขึ้นจากเดิม โดยภาพกว้างๆ ง่ายๆ หากพูดถึงเรื่องดังกล่าวสำหรับประชาชนคนไทยกับคำว่า ประชาคมที่มีอนาคตร่วมกันของมนุษย์ชาติ ประชาคมที่มีอนาคตร่วมกันของมนุษย์ชาติ คือการร่วมมือทางด้านเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม เราต้องมองประเทศเพื่อนบ้านรอบข้าง ทั้งเวียดนาม ลาว เขมร เมียนมาร์ ทำให้มีอนาคต ของเราทุกประเทศ ร่วม เดินทาง ไปด้วยกัน โอกาสที่คนไทยจะกินดีอยู่ดีก็จะมีมากขึ้น เราต้อง มุ่งให้เกิดการกระจายรายได้อย่างทั่วถึง ครอบคลุมภาคประชาชน และคนชายขอบ อย่างกว้างขวาง ที่สุด และนี่จะเป็นกระดุมเม็ดแรกที่จะปลดล็อคให้เข้าถึงโอกาสต่างๆ ต่อยอดความรู้และสิ่งต่างๆ มากมายให้กับชีวิตและความเป็นอยู่กระทั่ง ถึงระดับทั่วทั้ง สังคม ก่อนจะต่อยอดไปถึงระดับโลกเรื่องความสงบสุขและสันติภาพที่ปราศจากสงคราม” รองศาสตราจารย์ ดร.สังศิต กล่าวต่อไป

“เนื่องจากประเทศจีนมีพัฒนาการทางด้านโลจิสติกส์รถไฟความเร็วสูงที่จะต่อลงมายังประเทศไทยทั้งทางภาคอีสานและภาคเหนือ ซึ่งหากเราร่วมมือกันได้สิทธิพิเศษเรื่องการลดภาษี ซึ่งจะช่วยสร้างโอกาสมากมายในเรื่องของสินค้าการเกษตรทำให้สินค้าเกษตรของไทยมีราคาถูกลง สามารถส่งไปขายในประเทศจีนได้มากขึ้น รายได้ ของเกษตรกรจะดีขึ้น จากฐานตลาดของจีนที่ใหญ่ระดับกว่าพันล้านคน จากนั้นจะส่งผลต่อมาในเรื่องของการท่องเที่ยว ถ้าจีนเขาเปิดทางให้นักท่องเที่ยวมาเมืองไทย ทั้งเชิงธรรมชาติ วัฒนธรรม กีฬา และสาธารณสุขที่ได้รับความนิยมจากคนจีนมาก แค่เปิดที่มณฑลยูนนานที่มีคนประมาณ 80 ล้านคน เข้ามาไทย ครึ่งหนึ่งก็เป็นเรื่องใหญ่สำหรับบ้านเมืองไทยเราแล้ว ยังไม่ต้องพูดถึงมณฑลอื่นๆอีก อย่างที่มีท่องเที่ยวมาทัวร์แรกหลังโควิด-19 ที่เปิดประเทศเมื่อต้นปี 2566 ที่ผ่านมา”

“การร่วมมือกันจะนำมาซึ่งการร่วมมือกันทางด้านการศึกษา วัฒนธรรม กีฬา เทคโนโลยี การเกษตร การท่องเที่ยว การแพทย์ การค้า อุตสาหกรรมและบริการ ที่จะหลั่งไหลเข้ามา จะทำให้คนไทยมีโอกาส มีงานทำ มีอาชีพและ ทำธุรกิจการค้ากับคนจีนมากขึ้น ยิ่งคนไทยรู้ภาษาจีนมากขึ้น โอกาสทำมาค้าขายกับตลาดที่ใหญ่โต ก็มากขึ้นตาม ไปด้วย ยิ่ง ณ เวลานี้การค้าขายกันทางออนไลน์ก็ช่วยทำให้คนธรรมดาที่อยู่ในชนบทสามารถที่จะค้าขายกับคนจีนได้มากขึ้น เรียกได้ว่ามีโอกาสอยู่ในทุกหย่อมหญ้า สอดคล้องกับนโยบายของรัฐบาลจีนที่เน้นเรื่อง”ความมั่งคั่งร่วมกัน” เราควรส่งเสริม ให้คนไทยส่วนใหญ่ได้เข้าถึงโอกาสในเรื่องนี้ เราต้องมองว่า การกระจายรายได้สำคัญกว่าเรื่องของการเติบโตทางเศรษฐกิจ และขอให้เชื่อมั่นว่าการร่วมมือกัน อย่างไรเสียก็มีผลดีต่อการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ แต่การกระจายรายได้ให้กับประชาชน การกระจายโอกาสให้กับพี่น้องเกษตรกรไทย เป็นสิ่งที่สำคัญมากกว่า การคิดเรื่องการเติบโตทางเศรษฐกิจ การเข้มงวดกวดขันกับการจัดการเรื่องคอรัปชั่นเป็นนโยบายหนึ่งที่ทำให้ ความมั่งคั่งทางเศรษฐกิจของจีนมีการแบ่งปันอย่างสมดุลทั่วทั้งสังคม จีนในขณะนี้” รองศาสตราจารย์ ดร.สังศิต พิริยะรังสรรค์  กล่าวถึงความร่วมมือกันว่าจะได้อะไรตอบแทน

“โดยการขับเคลื่อน  ประชาคมที่มีอนาคตร่วมกัน  หรือการเป็นมิตร ประเทศที่ร่วมกันผลักดันเศรษฐกิจสังคม และวัฒนธรรม ให้เจริญมั่งคั่ง งอกงาม ตามที่รัฐบาลจีนกำลังขับเคลื่อนทั่วโลกอยู่ในขณะนี้ ย่อมเป็นเรื่องที่ดีกว่าการ ที่บางประเทศพยายามก่อวิกฤติ ก่อความขัดแย้งและก่อสงคราม ขึ้นในภูมิภาคหลายแห่งของโลก ประชาชนและประเทศส่วนใหญ่ในโลกไม่ต้องการสงคราม พวกเขาต้องการสันติภาพ มีแต่ชาติมหาอำนาจที่เป็นเจ้าอาณานิคมในอดีตเท่านั้นที่ต้องการสงคราม และพยายามก่อสงครามไม่ได้หยุด ฉะนั้นการร่วมมือกันในทางการทูตระดับรัฐบาลกับรัฐบาลสำคัญที่สุด และก็อีกทางก็คือการร่วมมือกัน ในระดับของ ภาคประชาชนกับภาคประชาชน ก็เป็นพลังที่ช่วยให้เกิดสันติภาพและความร่วมมือระหว่างรัฐกับรัฐในระยะยาว ด้วย เช่นการร่วมมือกันระหว่างสื่อมวลชนไทยกับจีน การแลกเปลี่ยนทางศิลปะ วัฒนธรรมระหว่างประชาชนกับประชาชน เป็นความสัมพันธ์ที่ต้อง ทะนุถนอม และ ช่วยกันส่งเสริมให้เกิดความร่วมมือให้มากขึ้น ในทุกๆด้านด้วย

การเป็นมิตรกันย่อมดีกว่าการเป็นศัตรูกัน เมื่อไหร่ที่คนเราเป็นศัตรูกันก็จะใช้ทรัพยากรที่มีอยู่ไปในทางทำลายล้างกัน แต่ถ้าหากเป็นมิตรกัน ทรัพยากรอันเดียวกันนี้แทนที่จะไปคิดเรื่องทำลายกัน ก็จะกลายมาเป็นทรัพยากรที่ใช้ในการพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชน และชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชนของทั้งสองฝ่าย การเป็นมิตรประเทศที่ดีต่อกันช่วยให้ เรามีโชคชะตาร่วมกัน และหาทางออกที่ดีให้แก่การแก้ปัญหา ในด้านต่างๆให้แก่โลกมนุษย์ร่วมกัน ประชาชนทั่วทั้งโลกจึงควรสามัคคีกันสร้างประชาคมที่มีอนาคตร่วมกันของมนุษย์ชาติ ขึ้นให้ได้” รองศาสตราจารย์ ดร.สังศิต พิริยะรังสรรค์ กล่าวสรุป


ขอแนะนำให้คุณอ่าน

ช่องแนะนำ

ด้านบน คิดเห็น