สี จิ้นผิง กล่าวย้ำในงาน CIIE:ตลาดใหญ่ของจีนกลายเป็นโอกาสใหญ่ของโลก
 การเผยแพร่:2023-11-09 16:23:38   ดูความถี่:0 แหล่ง:CMG

งานมหกรรมนำเข้าระหว่างประเทศของจีน ( CIIE ) ครั้งที่ 6 จัดขึ้นที่นครเซี่ยงไฮ้ระหว่างวันที่ 5-10 พฤศจิกายน 2023

ย้อนมองงานมหกรรมนำเข้าระหว่างประเทศของจีนใน 5 ครั้งที่ผ่านมา ในคำปราศรัยต่องานฯ 5 ครั้งของนายสี จิ้นผิง ผู้นำสูงสุดของจีน “การเปิดเสรี” “การเข้าถึงโอกาสด้วยกัน” เป็นคีย์เวิร์ดสำคัญมาโดยตลอด

งานมหกรรมนำเข้าระหว่างประเทศของจีน ( CIIE ) เป็นงานระดับประเทศที่ถือการนำเข้าเป็นหัวข้อหลักครั้งแรกของโลก เป็นความคิดสร้างสรรค์ในกระบวนการการค้าระหว่างประเทศ

โดยนายสี จิ้นผิงเป็นผู้วางแผนผู้ขับเคลื่อนด้วยตนเอง เพื่อเปิดเสรีมากขึ้น ทำให้ตลาดใหญ่ของจีนกลายเป็นโอกาสใหญ่ของโลก ปัจจุบัน งานมหกรรมนำเข้าระหว่างประเทศของจีนได้กลายเป็นหน้าต่างของการสร้างภูมิทัศน์ใหม่แห่งการพัฒนา แพลตฟอร์มของการเปิดเสรีในระดับสูงของจีน และเป็นสินค้าสาธารณะสากลที่เข้าถึงด้วยกันทั่วโลก

\

△ผลิตภัณฑ์เทคโนโลยีสร้างสรรค์ ในงานมหกรรมนำเข้าระหว่างประเทศของจีนครั้งที่ 5 ณ เซี่ยงไฮ้ วันที่ 8 พฤศจิกายน ปี 2022

CIIE แสดงความมุ่งมั่นของจีนเปิดเสรีมากขึ้น

นายสี จิ้นผิง ระบุว่า การเปิดเสรีนำมาซึ่งความก้าวหน้า การปิดประเทศย่อมจะล้าหลัง สถานการณ์การเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ที่ไม่เคยมีมาก่อนในรอบศตวรรษของโลกเร่งบานปลาย การฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลกขาดแรงขับเคลื่อน เขาระบุว่า ต่อหน้าความขัดแย้งและข้อพิพาท การร่วมหารือถึงจะเป็นทางที่ถูกหลัก ขอเพียงปฏิบัติต่อกันอย่างเสมอภาคเท่าเทียมกัน เห็นอกเห็นใจกัน ยอมพบกันครึ่งทาง ก็จะไม่มีโจทย์อะไรที่ตอบไม่ได้

เราควรยึดแนวคิดความร่วมมือเพื่อได้ประโยชน์ด้วยกัน เชื่อถือกันแทนที่จะหวาดระแวงกัน จับมือกันแทนที่จะกันท่า หารือกันแทนที่จะจาบจ้วงกัน หากควรถือผลประโยชน์ร่วมกันของทุกประเทศเป็นสิ่งสำคัญ เดินหน้ากระแสโลกาภิวัตน์ทางเศรษฐกิจให้ก้าวสู่ทิศทางที่เปิดเสรี เปิดให้ทุกๆ ฝ่ายมีส่วนร่วม เอื้ออำนวยประโยชน์กัน สมดุลกัน และได้ประโยชน์มากขึ้น ส่งเสริมการเปิดเสรีด้วยกันชนิดร่วมมือกันให้ต่างฝ่ายได้ประโยชน์ ( win-win )

นายสี จิ้นผิง เคยย้ำหลายครั้งว่า จีนเปิดประเทศแบบไม่มีวันจะปิด มีแต่จะเปิดเสรีมากขึ้นเท่านั้น จีนจะเป็นแหล่งกำเนิดแรงขับเคลื่อนที่มั่นคงในการสร้างการเติบโตของเศรษฐกิจโลก จีนจะเป็นตลาดใหญ่ที่แข็งแกร่งในการต่อยอดธุรกิจของทุกประเทศ จีนจะเป็นผู้มีส่วนร่วมอย่างแข็งขันในการปฏิรูปการบริหารของโลกตลอดไป!

\

△สินค้ากว่า 600 ประเภท ที่บริเวณปฏิบัติการแห่งหนึ่ง เมืองท่าชินโจว กว่างซี

จีนขับเคลื่อนทุกประเทศทุกฝ่ายเข้าถึงโอกาสตลาดใหญ่ของจีน

จีนมีประชากร 1,400 ล้านคน กลุ่มผู้มีรายได้ปานกลางกว่า 400 ล้านคน เป็นตลาดยักษ์ใหญ่ที่มีศักยภาพมากที่สุดของโลก คาดว่ายอดการนำเข้าสินค้าสะสมในรอบ 10 ปีข้างหน้าจะเป็นเงินกว่า 22 ล้านล้านเหรียญสหรัฐฯ “เมด อิน ไชน่า” ( Made in China ) ได้เป็นส่วนสำคัญของห่วงโซ่ธุรกิจห่วงโซ่อุปทานของโลกแล้ว

\

△เขตการค้าเสรีนำร่อง (เซี่ยงไฮ้) จีน (China (Shanghai) Pilot Free Trade Zone) สาขาจังเจียง

ตลาดอุปสงค์ภายในของจีนที่กว้างใหญ่จะกระตุ้นศักยภาพความคิดสร้างสรรค์อย่างไม่หยุดยั้งต่อไป การเปิดประเทศจีนในระดับสูงจะส่งเสริมทุกประเทศทุกฝ่ายเข้าถึงโอกาสการพัฒนาของจีนอย่างต่อเนื่อง

เฉพาะที่งานมหกรรมนำเข้าระหว่างประเทศของจีน นายสี จิ้นผิงก็ประกาศหลายมาตรการในการขยายตลาด ซึ่งได้รับการดำเนินการจนบรรลุผล : การเปิดสาขาใหม่ๆ ของเขตการค้าเสรีนำร่อง ( เซี่ยงไฮ้ ) จีน (China : Shanghai Pilot Free Trade Zone) การตั้งคณะบอร์ดความคิดสร้างสรรค์ทางเทคโนโลยี (The Science and Technology Innovation Board (STAR Market)) ทั้งทดลองระบบการจดทะเบียน การปรับลดภาษีศุลกากรและต้นทุนเชิงระบบให้ต่ำลงอีกขั้น การขยายการนำเข้าผลิตภัณฑ์และบริการที่ได้คุณภาพจากทุกประเทศ การปรับสิ่งแวดล้อมด้านการประกอบธุรกิจให้ดีขึ้นอย่างต่อเนื่อง การเพิ่มการคุ้มครองสิทธิทรัพย์สินทางปัญญา การคุ้มครองสิทธิประโยชน์ที่ชอบด้วยกฎหมายของธุรกิจทุนต่างชาติ เดินหน้าธุรกรรมใหม่ๆ อย่างอี-คอมเมิร์ซข้ามแดนให้พัฒนาเร็วขึ้น เพื่อสร้างพลังด้านการค้าต่างประเทศ การปรับลดบัญชีรายการที่ห้ามต่างชาติลงทุนอีกขั้น โดยมีการเปิดเสรีภาคบริการอย่างโทรคมนาคม การรักษาพยาบาลอย่างเป็นระบบระเบียบ

จีนแน่วแน่พิทักษ์ผลประโยชน์ร่วมกันของโลก

นายสี จิ้นผิงระบุว่า จีนเป็นผู้ริเริ่มความร่วมมือระหว่างประเทศและผู้สนับสนุนระบบพหุภาคี นับแต่เข้าร่วมองค์การการค้าโลกเป็นต้นมา จีนเปิดเสรีมากขึ้นอย่างต่อเนื่อง ซึ่งได้กระตุ้นพลังการพัฒนาของจีนอย่างฮึกเหิม และได้กระตุ้นเศรษฐกิจโลกดึ่งฤดูใบไม้ผลิ จีนมีส่วนร่วมในความร่วมมือหลากหลายกลไก เช่น สหประชาชาติ กลุ่มจี20 องค์การความร่วมมือเศรษฐกิจเอเชีย-แปซิฟิก และกลุ่มบริกส์ ร่วมกันผลักดันกระแสโลกาภิวัติน์ทางเศรษฐกิจให้ก้าวไปข้างหน้า

นอกจากนี้ จีนมีส่วนร่วมในการรับมือกับการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ การรักษาความมั่นคงด้านอาหารและความมั่นคงด้านพลังงานของโลก ตลอดจนให้ความช่วยเหลือมากขึ้นแก่ประเทศกำลังพัฒนาอื่นๆ ภายในกรอบความร่วมมือใต้-ใต้ต่อไป

\

△ผู้สื่อข่าวเคนยาผู้หนึ่งถ่ายภาพหมู่กับคนขับรถไฟ ที่สถานี Mombasa ตะวันตก ตามเส้นทางรถไฟสาย Mombasa–Nairobi

(Mombasa–Nairobi Standard Gauge Railway(SGR)) ประเทศเคนยา วันที่ 31 พฤษภาคมปี 2017

สำหรับการพัฒนาของโลกนั้น จีนก็เสนอแผนการตอบโจทย์ด้วยปฏิบัติการที่เป็นจริง ช่วง 10 ปีมานี้ ข้อริเริ่ม “1 แถบ 1 เส้นทาง” ตามที่จีนเสนอนั้น มีการร่วมลงนามเอกสารความร่วมมือกว่า 200 ฉบับจากกว่า 150 ประเทศและกว่า 30 องค์การระหว่างประเทศ ทั้งนี้ ธนาคารโลกคาดการณ์ว่า ถึงปี 2030 การลงทุนที่เกี่ยวข้องในกรอบ “1 แถบ 1 เส้นทาง” มีหวังจะทำให้ประชากร 7,600,000 คนของประเทศที่มีส่วนร่วมพ้นจากความยากจนสุดขีด และอีก 32,000,000 คนพ้นจากความยากจนระดับกลาง (Ying/LING/SUN)


ขอแนะนำให้คุณอ่าน

ช่องแนะนำ

ด้านบน คิดเห็น