ทำไมชาวจีนถึงศรัทธาในมังกร?
 การเผยแพร่:2024-01-30 16:21:12   ดูความถี่:0 แหล่ง:CMG

\

ตามปฏิทินจันทรคติของจีน เริ่มตั้งแต่วันที่ 4 กุมภาพันธ์ที่จะถึงนี้ ซึ่งตรงกับวัน “ลี่ชุน” วันเข้าสู่ฤดูใบไม้ผลิ  ปีทางจันทรคติจะเปลี่ยนจากปีกระต่ายเป็นปีมังกร  

ข้อมูลด้านการบริโภคจาก จิงตง (JD.com) หนึ่งในบริษัทอีคอมเมิร์ซยักษ์ใหญ่ของจีนแสดงให้เห็นว่า ตั้งแต่เดือนมกราคมที่ผ่านมา การค้นหาชื่อสินค้าที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับคำว่า “มังกร” ในแพลตฟอร์ม JD.com มีจำนวนเกิน 23 ล้านครั้ง  ตั้งแต่วันที่ 17 มกราคมเป็นต้นมา ยอดขายสินค้าที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับคำว่า “มังกร” เพิ่มขึ้นกว่า 10 เท่าเมื่อเทียบเป็นรายปี

มังกรเป็นหนึ่งในสัญลักษณ์ทางวัฒนธรรมที่เก่าแก่และยาวนานที่สุดในวัฒนธรรมจีนดั้งเดิม  และวัฒนธรรมมังกรมีความเจริญรุ่งเรืองมาโดยตลอด  ไม่ว่าเป็นสัญลักษณ์ทางจิตวิญญาณที่สำคัญหรือสิ่งศักดิ์สิทธิ์ในวิถีชีวิตของชาวบ้าน มังกรได้กลายเป็นโทเท็มในดวงใจของชาวจีนที่ไม่อาจแทนที่ได้

มังกรมีต้นกำเนิดมาจากอารยธรรมมนุษย์ยุคแรก ซึ่งได้สะท้อนถึงการบูชาโทเท็มของมนุษย์   ในสายตาของชาวจีน มังกรเป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์และเป็นสัญลักษณ์แห่งอำนาจ ศักดิ์ศรี และความแข็งแกร่ง   ชาวจีนมีความปรารถนาว่า มังกรจะช่วยให้เกิดสิ่งดีๆ หลายๆอย่าง เช่น ความอดทน การเรียนรู้ร่วมกัน และการอยู่ร่วมกันอย่างกลมกลืน  

ในวัฒนธรรมจีน มังกรไม่เพียงแต่เป็นสัญลักษณ์แห่งอำนาจของจักรวรรดิเท่านั้น แต่ยังเป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์สำคัญยิ่งของประชาชาติจีนอีกด้วย   ในสมัยโบราณ จักรพรรดิมีชื่อเรียกว่า “จักรพรรดิมังกรที่แท้จริง” อำนาจและสถานะของจักรพรรดิมีความเชื่อมโยงกับมังกรอย่างใกล้ชิด  นอกจากนี้ ในสายตาของชาวจีน มังกรยังเกี่ยวข้องกับปรากฏการณ์ทางธรรมชาติด้วย  เช่น ปริมาณน้ำฝนและการเก็บเกี่ยวเป็นต้น

ชาวจีนเรียกตัวเองว่า “ลูกหลานของมังกร” มาโดยตลอด ซึ่งไม่เพียงแต่เป็นการบูชาและศรัทธาในมังกรเท่านั้น แต่ยังรวมถึงความภาคภูมิใจในความเป็นจีนด้วย   ในประวัติศาสตร์จีน มังกรเป็นพลังสำคัญที่ทำให้ประชาชาติจีนรวมเป็นหนึ่งเดียวมาโดยตลอด   ในสมัยโบราณ แต่ละชนเผ่ามีโทเท็มเป็นของตัวเอง   แต่ต่อมาโทเท็มเหล่านั้นค่อยๆ รวมเป็นหนึ่งเดียว คือรูปมังกร และมังกรก็ได้กลายเป็นสัญลักษณ์ของประชาชาติจีน

จีนมีกิจกรรมพื้นบ้านมากมายที่เกี่ยวข้องกับมังกร เช่น การแข่งเรือมังกรในช่วงเทศกาล “ไหว้บะจ่าง” การเชิดมังกรในช่วงเทศกาลฤดูใบไม้ผลิ เป็นต้น กิจกรรมเหล่านี้ได้กลายเป็นวิถีชีวิตพื้นบ้านที่ชาวจีนร่วมกันสร้างขึ้น และสืบทอดกันมาจนถึงทุกวันนี้

กล่าวได้ว่า วัฒนธรรมมังกรเป็นตัวแทนของวัฒนธรรมดั้งเดิมอันยอดเยี่ยมของจีน วัฒนธรรมมังกรได้สืบทอดกันมาตั้งแต่สมัยโบราณจนถึงปัจจุบัน และได้เผยแพร่ไปยังพื้นที่อื่นๆ ทั่วโลก (bo/cai)

\

\

\

\

\

\

\

\


ขอแนะนำให้คุณอ่าน

ช่องแนะนำ

ด้านบน คิดเห็น