เมื่อวันที่ 11 สิงหาคมที่ผ่านมา จีนได้ออก “ข้อคิดเห็นว่าด้วยการเร่งเปลี่ยนผ่านการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมสู่สีเขียวทุกด้าน” (ต่อไปจะเรียกย่อว่า “ข้อคิดเห็น”) นี่นับเป็นครั้งแรกที่ส่วนกลางจีนวางแผนอย่างเป็นระบบเกี่ยวกับการเร่งเปลี่ยนผ่านการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมสู่สีเขียวทุกด้าน ซึ่งสะท้อนให้เห็นถึงความมุ่งมั่นตั้งใจและปฏิบัติการที่เป็นรูปธรรมของจีนในการยกระดับการพัฒนาที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมอย่างต่อเนื่อง
ในโลกปัจจุบัน การรับมือกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศได้กลายเป็นฉันทามติของทั่วโลก และการส่งเสริมการเปลี่ยนผ่านสู่พลังงานสีเขียวและคาร์บอนต่ำเป็นหนทางที่มิอาจจะหลีกเลี่ยงได้ ทว่าในกระบวนการเปลี่ยนแปลงพลังงานนั้น ด้วยปัจจัยต่าง ๆ เช่น ข้อจำกัดด้านทรัพยากร ความพร้อมทางเทคโนโลยี สิ่งอำนวยความสะดวกด้านอุตสาหกรรม ฯลฯ ทำให้แต่ละประเทศมีความแตกต่างกันทั้งในแง่ของความเร็วและความเข้มข้นในการขับเคลื่อนให้เกิดความต่อเนื่องตลอดจนความมั่นคงของนโยบายสีเขียว แถมบางประเทศก็เกิดความถดถอยด้วยซ้ำ จีนได้วางแผนจากแง่มุมต่างๆ เช่น ยุทธศาสตร์ นโยบาย เทคโนโลยี อุตสาหกรรม การบริโภค เป็นต้น เมื่อหลายปีก่อน ได้ส่งเสริมการเปลี่ยนผ่านสู่สีเขียวอย่างต่อเนื่อง จนประสบผลสำเร็จเป็นประวัติศาสตร์ โดย ณ สิ้นเดือนมิถุนายน ค.ศ. 2024 ขนาดกำลังการผลิตติดตั้งของพลังงานทดแทนสูงถึง 1,653 ล้านกิโลวัตต์ คิดเป็น 53.8% ของกำลังการผลิตติดตั้งทั้งหมด โครงสร้างอุตสาหกรรมได้รับการอัปเกรดอย่างต่อเนื่อง จนก่อรูปขึ้นเป็นห่วงโซ่อุตสาหกรรมพลังงานใหม่ที่ใหญ่ที่สุดและสมบูรณ์ที่สุดในโลก ประสิทธิภาพการใช้ทรัพยากรยกระดับสูงขึ้นเรื่อยๆ ในปี ค.ศ. 2023 ปริมาณการใช้พลังงานและความเข้มข้นของการปล่อยก๊าซคาร์บอนต่อผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศหรือจีดีพี ลดลงมากกว่า 26% และ 35% ตามลำดับเมื่อเทียบกับปี ค.ศ. 2012 โดยอัตราผลผลิตของทรัพยากรหลักเพิ่มขึ้นมากกว่า 60% คุณภาพสิ่งแวดล้อมในจีนก็ดีขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยมีท้องฟ้าสีคราม ภูเขาเขียวขจี และน้ำใสสะอาดมากยิ่งขึ้นอย่างเห็นได้ชัด
อย่างไรก็ตาม ในปัจจุบันการเปลี่ยนผ่านสู่สีเขียวของจีนยังคงเผชิญกับความท้าทายและความยากลำบากอยู่ไม่น้อย ตัวอย่างเช่น สัดส่วนของพลังงานฟอสซิลและอุตสาหกรรมดั้งเดิมยังคงอยู่ในระดับสูง และรากฐานที่คุณภาพระบบนิเวศและสิ่งแวดล้อมพัฒนาดียิ่งขึ้นอย่างมั่นคงนั้นยังไม่แข็งแกร่งเพียงพอ
“ข้อคิดเห็น” ที่กล่าวมาข้างต้นได้เสนอเป้าหมายหลายประการ เช่น ภายในปีค.ศ. 2030 ขนาดของอุตสาหกรรมที่ประหยัดพลังงานและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมจะสูงถึงประมาณ 15 ล้านล้านหยวน สัดส่วนการใช้พลังงานที่ไม่ใช่ฟอสซิลจะเพิ่มขึ้นเป็นประมาณ 25% ยอดการใช้ประโยชน์ขยะมูลฝอยที่มีปริมาณมากต่อปีจะสูงถึงประมาณ 4,500 ล้านตัน เป็นต้น
“ข้อคิดเห็น” ได้วางแผนเพื่อเร่งให้เกิดโครงสร้างเชิงพื้นที่ โครงสร้างอุตสาหกรรม รูปแบบการผลิต และวิถีชีวิตที่อนุรักษ์ทรัพยากรและอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมโดยมุ่งเน้นไปที่ 5 ประเด็นหลัก ได้แก่ การสร้างรูปแบบการพัฒนาเชิงพื้นที่ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม คาร์บอนต่ำและมีคุณภาพสูง เร่งการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างอุตสาหกรรมให้เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมและคาร์บอนต่ำ ส่งเสริมการเปลี่ยนผ่านสู่พลังงานสีเขียวและคาร์บอนต่ำอย่างต่อนื่อง ส่งเสริมการคมนาคมขนส่งสีเขียว และส่งเสริมการเปลี่ยนผ่านสู่สีเขียวของการพัฒนาเมืองและชนบท ตลอดจนมุ่งเน้นไปที่ 3 ห่วงโซ่หลัก ได้แก่ ดำเนินยุทธศาสตร์แห่งการประหยัดในทุกด้าน ส่งเสริมการเปลี่ยนรูปแบบการบริโภคที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม และขยายบทบาทเชิงเสาหลักของวัตกรรมทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
“ข้อคิดเห็น”ยังได้วางแผนด้านการคลังและภาษี การระดมเงินทุน การลงทุน ราคา การตลาด ระบบมาตรฐาน ฯลฯ เพื่อปรับปรุงระบบนโยบายการเปลี่ยนผ่านสู่สีเขียวให้สมบูรณ์ยิ่งขึ้น
รายงานของสำนักงานพลังงานระหว่างประเทศชี้ให้เห็นว่าในปี ค.ศ. 2023 กำลังการผลิตติดตั้งพลังงานหมุนเวียนใหม่ของโลกอยู่ที่ 510 ล้านกิโลวัตต์ โดยจีนมีส่วนสนับสนุนมากกว่าครึ่ง ซึ่งถือเป็นการสร้างคุณูปการอย่างยิ่งใหญ่ต่อการเติบโตของการผลิตไฟฟ้าด้วยพลังงานหมุนเวียนทั่วโลก ผลิตภัณฑ์ไฟฟ้าพลังงานลมและผลิตภัณฑ์เซลล์แสงอาทิตย์ของจีนส่งออกไปยังกว่า 200 ประเทศและภูมิภาคทั่วโลก ช่วยให้ประเทศกำลังพัฒนาจำนวนมากกมายได้ใช้พลังงานที่สะอาด เชื่อถือได้ และราคาไม่แพง รายงานของสำนักงานพลังงานทดแทนระหว่างประเทศชี้ให้เห็นว่าในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา ต้นทุนไฟฟ้าที่ปรับระดับ (Levelized Cost of Energy:LCOE) เฉลี่ยของโครงการผลิตไฟฟ้าด้วยพลังงานลมและแผงโซลาร์เซลล์ทั่วโลกลดลงมากกว่า 60% และ 80% ตามลำดับ ซึ่งส่วนใหญ่เป็นผลมาจากนวัตกรรม การผลิตและวิศวกรรมของจีน
ผู้เชี่ยวชาญชี้ให้เห็นว่า การเปลี่ยนผ่านการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของจีนสู่สีเขียวทุกด้านนั้นถือเป็นการปฏิวัติระบบนิเวศที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อนซึ่งจะมีผลกระทบอย่างลึกซึ้งและยาวไกลต่อสังคมมนุษย์ ภาคปฏิบัติขนาดใหญ่พิเศษของจีนในการกำหนดยุทธศาสตร์ การออกแบบนโยบาย การวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยี การจัดสรรทรัพยากร และการขับเคลื่อนทางสังคม ฯลฯ ได้สั่งสมประสบการณ์อันมีค่าสำหรับประเทศอื่นๆ ในการส่งเสริมการเปลี่ยนผ่านสู่พลังงานสีเขียวและคาร์บอนต่ำซึ่งมีบทบาทในการสาธิตที่เป็นการสร้างสรรค์ให้เห็นถึง “ความสามารถในการผลิตที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม”ของจีนจึงได้รับการยกย่องว่าเป็น“ผู้ทรงคุณอันประเสริฐต่อการเปลี่ยนแปลงพลังงานของทั่วโลก” เมื่อเร็ว ๆ นี้ ประเทศพัฒนาบางประเทศได้ใช้สิ่งที่เรียกว่า “กำลังการผลิตล้นเกิน” เป็นข้ออ้างในการใส่ร้ายป้ายสี กดดันและยับยั้งการพัฒนาผลิตภัณฑ์และเทคโนโลยีพลังงานใหม่ของจีน การไม่มองการณ์ไกลและใจแคบของพวกเขาเป็นสิ่งที่น่าเสียใจ ในขณะที่การเปลี่ยนผ่านสู่สีเขียวทุกด้านเร่งฝีก้าวขึ้น จีนย่อมจะอัดฉีดแรงผลักดันใหม่อันแข็งแกร่งอย่างต่อเนื่องให้กับการพัฒนาสีเขียวของทั่วโลกอย่างแน่นอน (IN/LU)
- บทวิเคราะห์ : จีนยกระดับการพัฒนาสีเขียวอย่างต่อเนื่อ
- กระทรวงศึกษาธิการจีนจัดงานวันครู 2024
- รถทัวร์กินหม้อไฟเมืองเฉิงตู
- จีนและไทยจะจัดการซ้อมรบร่วมทางอากาศ "Falcon Strike-2024"
- หุ่นยนต์ฮิวแมนนอยด์มีขนาดตลาดล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ
- จีนทดลองเปิดเส้นทางการบินความสูงระดับต่ำ
- วันรำลึก "หญิงบำเรอ" โลก ผู้คนเยี่ยมชมสถานบริการซอยลี่จี้ของเมืองหนานจิง
- วันนิเวศวิทยาแห่งชาติครั้งที่ 2
- ภูเขาสีเขียวและน้ำใสสะอาดสร้างภาพสวยงามในพื้นที่ต่างๆ ของจีน
- ฤดูร้อนปีนี้ กีฬาทางน้ำมาแรงในกรุงปักกิ่ง
วิดีโอยอดนิยม
ช่องแนะนำ
ด้านบน คิดเห็น
- เรือมังกรจีนแบบดั้งเดิม "พาย"สู่ในงานกีฬาโอลิมปิกอีกครั้ง
- พาณิชย์ไทยชี้ลดราคาสินค้าและบริการหวังลดภาระภาคธุรกิจและประชาชน
- “หวัง อี้” ส่งสารแสดงความยินดีในสัปดาห์จีน-อาเซียน ประจําปี 2024
- บทวิเคราะห์ : จีนยกระดับการพัฒนาสีเขียวอย่างต่อเนื่อ
- ทัศนียภาพสวยงามของภูเขาไฟในทุ่งหญ้าอูหลันฉาปู้
- รถไฟโดยสารระหว่างประเทศจีน-ลาวให้บริการผู้โดยสารข้ามพรมแดนมากกว่า 1,200 คนในวันเดียว
- นิคมอุตสาหกรรมไฟฟ้าพลังลมทางทะเลที่มีห่วงโซการผลิตสมบูณ์แบบแห่งแรกของจีน
- เทศกาลนาดัมที่เขตแคว้นเอ้อทัวเค่อฉี เขตมองโกเลียใน
- มาตรการการชําระเงินด้วยสมาร์ทโฟนในจีนอำนวยความสะดวกนักท่องเที่ยวต่างชาติ
- งานกีฬาโอลิมปิกขับเคลื่อนเศรษฐกิจด้านกีฬา